ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ชุติกาญจน์ หลวงแสน
หยกแก้ว กมลวรเดช
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยและระดับความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 324 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และระดับความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านผลงานของสถานศึกษา 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 73.80

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉวีวรรณ แผ่วตะคุ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทรงพล เจริญคำ. (2552). รูปแบบความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิศารัตน์ เหลือผล. (2550). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาสน์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนยสื่อเสริมกรุงเทพ.

ปวีนา เหล่าลาด. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 119 ตอนที่ 123ก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74ก.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

สมศรี พิมพ์พิพัฒน์. (2559). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์. (2559). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์

ปีการศึกษา 2559-2563. อุตรดิตถ์: ม.ป.พ.

สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์