การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด -19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

รัฐกูล เสนารา
ชาญชัย ฮวดศรี
ปรัชญา มีโนนทองมหาศาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง
          2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่แตกต่างกัน และอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 01
          3. แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า ด้านการตัดสินใจ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประชุม ด้านการดำเนินงาน ควรใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแจ้งข่าวสาร ด้านการรับผลประโยชน์ ควรประชาสัมพันธ์การใช้แอปพลิเคชั่นหมอชนะและไทยชนะ ด้านการติดตามและประเมินผล ควรมีการชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนได้รับทราบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล เข็มนาจิตร์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี . 8 (17), 80-89.

ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ฐิติมา อุดมศรี. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล ในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ทศพร วงศ์ทะกัณฑ์. (2550). การประเมินผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทิดศักดิ์ ยอแสงรัตน์. (2560). ทัศนคติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 13 (2), 37 – 57.

ธัญญ์นิธิ จันทร์เหลือง และคณะ. (2559). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 3 (1), 11-23.

นัยนา พรมสวย. (2560). การใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากร องค์การบริหาร ส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (5), 2459-2480.

พัชรี ศิลารัตน์. (2557). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 5 (2), 29-38

เยาวลักษณ์ จักรคำ. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.