การบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัย ประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนะพัฒน์ วิริต

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร และ3)แนะแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysisi) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า
          1. การบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ตามที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ โดยเน้นไปที่ความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานคร
          2. ข้อค้นพบจากปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีผลมาจากมาตรการทางกฎหมายยังขาดความชัดเจน พร้อมทั้งการก่อสร้างอาคารไม่ตรงตามแบบที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขกฎหมายในการควบคุมอาคารสูงที่กำหนดไว้
          3. ข้อเสนอแนะ แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร พบว่า จากการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในเรื่องการออกข้อเสนอแนะ แนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร พบว่า ความเห็นและการประเมินผลในแผนงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่มากในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยยึดหลักความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม. (2554). ความปลอดภัยจากอัคคีภัยในอาคารสูง. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 9 (2), 1-9.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลป ศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 13 (25), 103-118.

นพพล เอกคุณากูล. (2553). แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารที่อยู่อาศัยรวมสำหรับผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภัสวรรณ แสงมณี. (2559). การเสริมสร้างสมรรถนะของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย. วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

มนตรี บัวมาก. (2557). ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการอาคารสูงตามกฏหมายควบคุมอาคาร. วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรกิจบัณฑิตย์.

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. (2560). ภารกิจของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560. แหล่งที่มา: www.bangkok.go.th.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2560). รายงานการตรวจสอบการดำเนินงานการบังคับใช้ กฎหมายการควบคุมอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. แหล่งที่มา: http://www.oag.go.th.

สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. (2559). การจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยโดยระบบป้องกันอัคคีภัย ของอาคารสาธารณะประเภทห้างสรรพสินค้า. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” . วันที่ 30 กันยายน 2559 ณ อาคารเฉลิมพระเกยีรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อาคม วัดไธสง. (2547).หน้าที่ผู้นําในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์. (2549). มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.