การวิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์กซ

Main Article Content

ประธาน คงเรืองราช
สุวิน ทองปั้น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิภาษวิธี 2) เพื่อศึกษาวัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์กซ 3) เพื่อวิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของคาร์ล มาร์กซ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) วิภาษวิธี คือ วิธีการสนทนาในการหาคำตอบหรือการหาข้อยุติ ต่อมาวิภาษวิธีถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและในการแก้ปัญหา โดยการเริ่มต้นจากสภาวการณ์พื้นฐาน เมื่อสภาวการณ์พื้นฐานเกิดความขัดแย้งขึ้น จึงหาวิธีการแก้ปัญหาสภาวการณ์พื้นฐานจนได้สภาวการณ์ใหม่เกิดขึ้น ต่อมาสภาวการณ์ใหม่เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก จึงหาวิธีการแก้ปัญหาสภาวการณ์นั้นจนได้สภาวการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งทำวิธีการอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั้งได้สภาวการณ์สมบูรณ์ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่าวิภาษวิธี            
          2) วัตถุนิยมวิภาษวิธีของ คาร์ล มาร์กซ ได้แก่ การนำวิธีการวิภาษวิธีมาใช้ในการพัฒนาทางด้านวัตถุที่เกิดจากความขัดแย้ง โดยธรรมชาติของสรรพสิ่งหรือวัตถุแล้ว ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้สภาวการณ์ขัดแย้ง โดยเริ่มจากทฤษฎีพื้นฐานที่ว่าวัตถุมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา ความขัดแย้งจำนำไปสู่การเคลื่อนไหว และการเคลื่อนไหวจะนำไปสู่การพัฒนา 
          3) วิเคราะห์วัตถุนิยมวิภาษวิธีของ คาร์ล มาร์กซ ได้แก่ การนำโลกทัศน์ในการพัฒนาชนชั้นกรรมาชีพที่เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การใช้แรงงาน ซึ่งมีประเด็นในวิเคราะห์ 4 ประการ คือ 1) สรรพสิ่งมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จากปริมาณไปสู่คุณภาพ 2) สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว 3) สรรพสิ่งมีความขัดแย้ง 4) ความขัดแย้งภายในเป็นสาเหตุ และความขัดแย้งภายนอกเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Peter Singer. (2558). มาร์กซ ฉบับพกพา. แปลโดย เกษียร เตชะพีระ. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่น เวิลดส์ พับลิชชิ่งเฮ้าส์.

บุญศักดิ์ แสงระวี. (2559). ว่าด้วยทุน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชนนิยม.

วิทยากร เชียงกูล. (2550). กำเนิดและพัฒนาการของขบวนการสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร: ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล.

สมัคร บุราวาศ. (2526) ปัญญาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพลักษณ์ ศยาม.