ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สู่การปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุริยะ หาญพิชัย
ฑัชวงษ์ จุลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 2) ศึกษาการปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 397 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากตัวแทนในพื้นที่ จำนวน 11 คน
          ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อประชาชนในจังหวัดลพบุรี พบว่า 1) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้ลดน้อยลง 2) ผลกระทบด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีผลกระทบต่อความรู้สึกและสุขภาพจิตเนื่องจากความวิตกกังวล 3) ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการรวมกลุ่มกันน้อยลง สิ่งแวดล้อมได้รับการรบกวนจากมนุษย์น้อยลง 4) ผลกระทบด้านการรับรู้ข่าวสารและการใช้เทคโนโลยี ประชาชนให้ความสนใจข่าวสารและเกิดการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้น 5) ผลกระทบด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ปรับเป็นการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของการปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนปรับตัวโดยการหารายได้เสริม และลดรายจ่าย 2) ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ระมัดระวังในการอยู่ร่วมกันมากขึ้น 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มกันลดน้อยลง อยู่บ้านพักอาศัยมากขึ้น หันมาใช้จ่ายระบบออนไลน์มากขึ้น 4) ด้านเทคโนโลยี ส่วนใหญ่ปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นกันมากขึ้น 5) ด้านการศึกษา มีการปรับมาใช้ระบบออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฏา บุญชัย และคณะ. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2563). มานุษยวิทยากับโรคระบาด: โควิด-19 โรคอุบัติใหม่กับงานวิจัยทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 21 (2). 29-39.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (9). 40-55.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (11). 434-447.

พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ และสุชน ประวัติดี. (2563). การปรับพฤติกรรมสุขภาวะองค์รวมของมนุษย์ในสังคมไทยกับโรคโควิด 19 ตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 7 (3). 85-96.

สำนักงานจังหวัดลพบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561 – 2565 จังหวัดลพบุรี. ลพบุรี: สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี.

สำนักงานจังหวัดลพบุรี. (2564). ลพบุรี COVID 19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://covid.lopburi.go.th/frontpage.

สุริยะ หาญพิชัย. (2563). เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องวิทยาการระบาดกับความเหลื่อมล้าทางสังคม. Journal of Modern Learning Development. 5 (3). 230-244.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 35 (1). 24-29.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York : Harper and Row Publications.