ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2

Main Article Content

พงศ์เทพ กันยะมี
วจี ปัญญาใส
สุมิตรา โรจนนิติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูฝ่ายวิชาการ จำนวน 23 คน ครูแนะแนวหรือครูที่รับผิดชอบเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 23 คนและครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 138 คน รวม 184 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 มากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการประสานงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ปัจจัยด้านครูแนะแนว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ปัจจัยด้านการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ปัจจัยด้านครูที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18
          2)  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านครูที่ปรึกษา ปัจจัยด้านครูแนะแนว ปัจจัยด้านการประสานงาน และปัจจัยด้านการฝึกอบรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดคือ ปัจจัยด้านครูที่ปรึกษา รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษา และปัจจัยด้านการฝึกอบรม ส่วนตัวแปรต้นกับตัวแปรตามพบว่า มีความสัมพันธ์กันทุกปัจจัยและส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์


เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก เอียดด้วง. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14 (2), 40-50

จริยา เนียมสวัสดิ์. (2557). คู่มือการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13

ชยาภรณ์ ศฤงคารทวีกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7 (3), 214-227.

นฤมล กอบแก้ว และ ปริญญา มีสุข. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (5), 162-181.

นันทรัตน์ เกื้อหนุน. (2553). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พรรณณภัทร ตาลป่า. (2560). ปัจจัยที่มีส่งต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.11 (1), 172-185.

มยุรี สารีบุตร และ อุทัย ภิรมย์รื่น. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลต่อคุณภาพนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (2), 283-303.

วจี ปัญญาใส. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะผู้ให้คำปรึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 5 (1), 71-85.

วจี ปัญญาใส. (2560). การพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษากลุ่มของครูในโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 7 (2), 27-43.

วจี ปัญญาใส และ หยกแก้ว กมลวรเดช. (2561). รูปแบบการจัดการเครือข่ายครู ผู้ปกครอง และ องค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยงในวัยรุ่น. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ : บูรณาการภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1. วันที่ 20 กันยายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

วรรณภา เย็นมนัส. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศิริชัย จิตสว่าง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาในการดำเนินงาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบคู่ขนานของโรงเรียนห้องสอนศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). สภาพความสำเร็จและแนวทางการเสริมสร้างความ เข้มแข็งระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.