แนวทางการบริหารการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันนักเรียน จากภัยคุกคามของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและประเภทของภัยคุกคาม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสม ในการป้องกันนักเรียนจากภัยคุกคามของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 1 ผู้อำนวยการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 50 คน กลุ่มที่ 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนต้นแบบที่มีผลงานเชิงประจักษ์ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน จำนวน 4 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ประเภท คือ แบบสอบถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างในรูปแบบอิสระ และแบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่ามีประเภทของภัยคุกคามที่เกิดขึ้น 10 ประเภท และมีแนวทางการบริหารกิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต เพื่อป้องกันนักเรียนจากภัยคุกคามของโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ในแต่ละประเภท ที่มีการสร้างเครือข่ายระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมตามบทบาทของแต่ละภาคส่วน เพื่อป้องกันนักเรียนจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้น การตรวจสอบความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมทั้งบทบาทของโรงเรียนและหน่วยงานภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
References
ขวัญจิต เพ็งแป้น. (2560). การป้องกันปัญหาภาวะสุขภาพของเด็กติดเกมออนไลน์. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences. 1 (1), 16-32.
คม ชัด ลึก. (2562). แก้ปัญหารุนแรงในโรงเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.komchadluek.net/news/scoop/405441
ครูเชียงราย. (2562). เด็กนักเรียนถูกปล่อยปละ ละเลย ทอดทิ้ง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.kruchiangrai.net/2019/10/01/
เชียงใหม่นิวส์. (2563). กีฬาต้านภัยยาเสพติด อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1258964/
เทศบาลเมืองกันตัง. (2560). โครงการวัยเรียน...วัยใส ขับขี่ปลอดภัย รู้วินัยจราจร ปี 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://localfund.happynetwork.org/project/ 8397/finalreport
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ป. ศ. (2560). การป้องกันโรคจิตเวช : มาตรการและทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิผล. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์.