การสร้างแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ดาริกา ดวงบุ
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม 2) สร้างแบบวัดและหาคุณภาพแบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 630  คน จาก 40 โรงเรียน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย  คือ แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ด้านทักษะพื้นฐานจำนวน 33 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม (Index of congruence: IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาอำนาจจำแนกด้วยวิธี Item - total correlation ค่าความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ทักษะการคิดเชิงบริหาร(EF) ด้านทักษะพื้นฐาน มี 3 องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบย่อย และ 33 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านความจำที่นำมาใช้งาน มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1) การดึงข้อมูลมาใช้ ประกอบด้วย 7 ตัวบ่งชี้ และ 1.2) ความสนใจจดจ่อ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1) ควบคุมอารมณ์ ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ และ 2.2) การคิดไตร่ตรองเลือกทำสิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบด้านการยืดหยุ่นความคิด มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1) การปรับเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมอง ประกอบด้วย 6 ตัวบ่งชี้ และ 3.2) แก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลายประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้
          2. แบบวัดทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 33 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (rxy) ตั้งแต่ 0.421 ถึง 0.762 ค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.947 และมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างซึ่งพิจารณาจากดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล (Goodness of fit indices) มีความเหมาะสมดีทุกค่า ดังนี้ Chi - Square= 2.866, df= 6, /df= 0.477, p-value = 0.825, CFI=1.000, TLI = 1.000, RMSEA=0.000 และ SRMR = 0.006

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จามรี ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. (2559). ผลของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้านทักษะสังคม เรื่องการถูกแกล้งสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 8 (2), 161-187.

จุฬินฑิพา นพคุณ. (2561). การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยผ่านการสอนแบบมอนเตสซอรี่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 16 (1), 75–90.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและการหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

โรงเรียนเพลินพัฒนา. (2558). EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ...ในวัยอนุบาล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561. แหล่งที่มา: http://www.plearnpattana.ac.th/m465/index.php?option= com_content&task=view&id=3992&Itemid=132.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). สถิติขันสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา (Advanced Statistics for Educational). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th /newsdetail.php?id=75.