ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารเครือข่ายการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ การบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อ หา แนวทางการบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การวิจัยในครั้งนี้ ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน หัวหน้าศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล จำนวน 67 คน คณะกรรมการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและคณะกรรมการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล จำนวน 309 คน รวม 385 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 เลือกแบบโควตา ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการเป็นผู้นำ ปัจจัยด้านด้านความรอบรู้ในงาน ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารและปัจจัยด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านการเป็นผู้นำ ปัจจัยด้านด้านความรอบรู้ในงาน 3) แนวทางการบริหารเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน โดยการทำงานเป็นทีม มีแนวทางย่อย จำนวน 3 แนวทาง ด้านการเป็นผู้นำ มีแนวทางย่อย จำนวน 3 แนวทาง และด้านความรอบรู้ในงาน มีแนวทางย่อย จำนวน 3 แนวทาง
Article Details
References
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเสริฐ บุญเรือง. (2555). การจัดการศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. (2548). คิดนอกระบบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
อดิศร ภูกงลี. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการเครือข่าย. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณทิตรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2544). กรอบนโยบายกรมการศึกษานอกโรงเรียนประจำปีงบประมาณ 2544.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทประชาชน จํากัด.
กองบรรณาธิการ. (2549). สัมภาษณ์พิเศษ ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก บริหารงานการศึกษา นอกโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิตยสารJob Request.
นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน : ข้อควรพิจารณาบางประการ. สาขาพัฒนาแรงงาน และสวัสดิการ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ.(2545). รูปแบบเครือข่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม พระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). วัฒนธรรมขององค์กรของโลกยุคใหม่ เครือข่าย ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์.
โกวิท วรพิพัฒน์ .(2544). การจัดการศึกษาตามแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในประเทศไทยใน 22 ปี กศน.สู่ การศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพมหานคร: องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.)
ทองอยู่ แก้วไทรฮะ. (2544). การปฎิรูปการศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนสู่การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต.กรุงเทพมหานคร : องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).
ตฤณเศรษฐ์ รัตนรังสฤษฏ์ .(2561).แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนในเตรียม
อุดมศึกษาพัฒนาการ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลลนา บุญชื่น และคณะ. (2544). การส่งเสริมความเข้มแข็งในองค์กรสตรีชุมชน เพื่อส่งเสริมบทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนชนบท. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยการศึกษาการ ศาสนาและการวัฒนธรรม ของกระทรวงศึกษาธิการ.
สุวรรณ พิณตานนท์. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร: อาสารักษาดินแดน
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and Row Publications.