แนวปฏิบัติที่ดีการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Main Article Content

พัชรมัย ทองแดง
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
ชัชภูมิ สีชมภู

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวนทั้งสิ้น 7 โรงเรียน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 7 คน ครูหัวหน้าวิชาการ 7 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 9 คน ตัวแทนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา 14 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีการบริหารงานวิชาการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 พบว่า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นตอนการวางแผน วิเคราะห์ผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวางแผน 2. ขั้นการจัดองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษร่วมกันพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย สนับสนุนสื่อตามความความต้องการและความเหมาะสม  3. ขั้นการดำเนินงาน ครูมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ มีการใช้สื่อนวัตกรรม เน้นปฏิสัมพันธ์การใช้ภาษาระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียน 4. ขั้นการนิเทศภายใน แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นระยะ ๆ โดยใช้รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และสะท้อนผลที่จะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ 5. ขั้นการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานเพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป


   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุฬารักษ์ โคตรจักร์ และ สงวน อินทร์รักษ์. (2563). กระบวนการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนภัทรญาณวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (1), 17-33.

ชิโรบล วรรณธะนะ. (2562). ศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นราวุฒิ วิวิธธนากร และ ศรีสมร พุ่มสะอาด. (2563). การศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26 (1), 1-12.

ปิยะนาถ ไชยวุฒิ. (2562). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พิสพงศ์ วงพระจันทร์. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว วิทยาเขตดงโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วิโรจน์ ไชยภักดี. (2562). แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานโรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาภรณ์ สร้อยคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (2563). ระบบสารสนเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: http://plk3info.phitsanulok3.go.th/.