การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุรอบตัว โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กิตติวุฒิ กิตติวุฒิไกร
สมมรง สิทธิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องวัสดุรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวัสดุรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าหวาย ตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุรอบตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 6.67 มีค่า (S.D.= 1.07) และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 12.92 (S.D.= 1.37) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องวัสดุรอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีค่าเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 13.17 มีค่า (S.D.= 1.74) และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.92 (S.D.= 2.15) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

จงกล เขียนปัญญา. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโนนโพธิ์ศรีวิทยาค.ม วิทยานิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชรียา พรพรมพันธ์, อรุณรัตน์ คำแหงพล และ ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2563). การเปรียบเที่ยบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เรื่อง พอลิเมอร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค POE และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค POE เรื่อง พอลิเมอร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุภาวดี บุษราคัม. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14 (3). 167-174.

อรสุดา สุขสวัสดิ์ ปริญญา ทองสอน. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้7E ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนบัญชีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning. (2nd ed). USA : Allyn and Bacon.