การดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีและราชบุรี

Main Article Content

นาทชนก เขม้นเขตกิจ
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์
มิตภาณี พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี การดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี และเปรียบเทียบการดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานควบคุมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีและราชบุรี จำนวน 178 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบแบบที
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านกิจกรรมการติดตามผล ด้านกิจกรรมควบคุม และด้านการประเมินความเสี่ยง
          2. การดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านกิจกรรมควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านกิจกรรมการติดตามผล
          3. การเปรียบเทียบการดำเนินงานการควบคุมภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการคลัง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ณัฐวุฒิ สุผาวัน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ดลฤทัย ศรีทวีกาศ. (2557). การดำเนินงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

ธนา สุวรรณโชติ. (2553). การศึกษาความรู้และการปฏิบัติของครูเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วรัชญ์ณัฏฐ์ ผ่องธรรม. (2560). การควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิชชาพร เปล่งผิว และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2562). การควบคุมภายในของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 19-33.

วุฒิชัย หอวรรธกุล. (2563 ธันวาคม 29). รองผู้อำนวยการโรงเรียน. โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์. สัมภาษณ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. ราชบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (2562). แนวปฏิบัติการควบคุมภายใน. ราชบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8.

สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2552). แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและประเมินผลการควบคุมภายใน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน.

Best, J. W. (1981). Research in education. Englewood cliff: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Likert, R. (1976). Management styles and the human component. New York: AMACOM.