การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E

Main Article Content

อัญชนา ตันวิเชียร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยและรูปแบบการสอนการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการใช้รูปแบบการสอนการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E  3) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E  ให้ได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและรูปแบบการสอนการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนและครูผู้สอนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ 2) แบบประเมินสังเกตการสอน 3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 4) แผนการจัดการเรียน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยและรูปแบบการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E ของครูผู้สอนทั้ง 2 คน มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์หลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้เท่ากับ 100 อยู่ในระดับสูงมากทั้งสองคน
          2. ความสามารถด้านการจัดการสอนของครูด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E ทั้ง 3 คน รวม 3 ครั้ง มีค่าเฉลี่ย ( )  เท่ากับ 16.11 คิดเป็นร้อยละ 80.56 ระดับความสามารถอยู่ในระดับดีมาก
          3. ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วัฏจักการเรียนรู้ 7E ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย ( )  หลังเรียนเท่ากับ 33.22 คิดเป็นร้อยละ 83.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          4. ความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้วัฏจักการเรียนรู้ 7E โดยภาพรวมอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด ( = 4.92, S.D. = 0.10)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คงอภิรักษ์. (2548). การวิจัยและพัฒนาแบบตรวจสอบรายการการประเมินหลักสำหรับการประเมินตนเองของครูด้านการจัดการสอนวิชาวิทยยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบเซเว่นอี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรชัย นกดี. (2563). “เด็กไทย” รู้เท่าทัน ป้องกันภัยจากสื่อออนไลน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม2564. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content/50986

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน : ทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพครูที่ยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9 (2), 14-24.

ญดา ลือสัตย์. (2557). ผลการเรียนรู้อีเลิร์นนิงโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E วิชาชีววิทยาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน วิชาหลักภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทยและทักษะชีวิตของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1. รายงานการวิจัย. กองทุนวิจัยคณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชสุคนธ์ อักษรศรี. (2560). โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์ 20 ธันวาคม 2561.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

ปริศนา ประชุมพันธุ์. (2553). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 7E ที่มีต่อความสามารถในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพัสนันท์ แสนสีสม. (2560). โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์ 20 ธันวาคม 2561.

พฤกษ์ โปร่งสำโรง. (2556). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 7E ในวิชาฟิสิกส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ นักรบ หมี้แสน. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพมมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรางคณา ชั่งโต. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความ สามรถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิดาด หะยีตาเฮร์. (2557). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังคมพหุวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2539). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกลวิธีการเรียนภาษาโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิภรณ์ ขนอม และคณะ. (2561). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.29 (1), 21-34.

สุรีย์พร ศิริยุทธ์ และชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2557). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการ เรียนรู้เรื่อง อาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

อรุณรุ่ง โยธสิงห์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อารีย์ สุขใจวรเวทย์. (2553). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง การบวกและการลบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น