การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู -

Main Article Content

โสภา แสงนิล
พิชัยรัฐ หมื่นด้วง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973 : 125) จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
          ผลการวิจัยพบว่า
          การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.97, S.D.= 0.48) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 4.07, S.D.= 0.59) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ  ( = 3.99, S.D.= 0.55) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 3.87, S.D.= 0.64)
          ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า อายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง พบว่าไม่แตกต่างกัน
          ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลหนองบัวลำภู อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ นำ IT มาช่วยในการออกแบบการรายงานในการปฏิบัติงาน เพื่อง่าย และสะดวกในการทวนสอบข้อมูลบริการกับข้อมูลการปฏิบัติฯ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เกศประทุม. (2563). ศูนย์จัดเก็บรายได้ โรงพยาบาลตาคลี. ศูนย์อนามัยที่ 3: นครสวรรค์

ประพันธ์ วรรณบวร. (2543). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนันท์ สาริยาชีวะ. (2562). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 7 (3), 77-87

อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). หลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรม Home Office Day .วันที่ 30 เมษายน 2550 ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงานเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Drucker, F. P. (1993). Post-Capitallst Society. New york: Harperbusiness.

Taylor, Frederick W. (2002). The Principles of Scientific Management. New York: Harper.

Smith, Adam. (1776). An Inquiry into the Nature mad Causes of the Wealth of Nations. London.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.