การพัฒนารูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน

Main Article Content

สุชาย สิริภัทรกุลธร
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ฯ และตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ กับผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนจำนวน 38 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบ ฯ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ  งบประมาณ, การวิเคราะห์การลงทุน, บัญชีตามความรับผิดชอบ, การบริหารกระแสเงินสด, ต้นทุนต่อหน่วย, ต้นทุนฐานกิจกรรม, การวิเคราะห์ผลแตกต่าง, การประเมินแบบสมดุล และข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ โดยได้นำรูปแบบ ฯ ไปทดลองใช้กับผู้บริหารของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผลลัพท์คะแนนเฉลี่ยการสอบวัดความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.01 แสดงว่าการอบรมมีผลทำให้ผู้รับการอบรมมีความรู้เพิ่มสูงขึ้น 2) แบบวัดความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อความรู้ที่ได้และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อยู่ในระดับมาก (  = 4.39, S.D. = 0.54) 3) ความเห็นต่อประโยชน์ของสารสนเทศทางการบัญชี ฯ ของผู้เข้ารับการอบรม เห็นว่ารูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีมีประโยชน์ในการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกมล พากเพียร. (2552). การจัดการระบบบัญชีและการเงินอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/08/nuthasid-vocational-education-v02_2.pdf

นันทพร พิทยะ. (2552). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาภรณ์ เกียรติกุลวัฒนา. (2555). การใช้เทคนิคการบริหารต้นทุนและการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการ บริหารของบริษัทในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (2), 141-153

พัชนิจ เนาวพันธ์. (2558). บัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจ ตามแนวคิดกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มณลักษณ์ ภักดีชน, ฉลอง ชาตรูประชีวิน และอนุชา กอนพ่วง. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบดุลยภาพ (BSC) สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal Of Education Naresuan University. 16 (1), 108-119.

รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2562). การบัญชีขั้นสูง 1. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

ศศิวิมล มีอำพล. (2558). การบัญชีเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: อินโฟไมนิ่ง.

สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: http://www.spc.ac.th/spc/Planning_and_cooperation_ department/

สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). ข้อมูลสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาล และเอกชน. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: techno.vec.go.th/th-th/บริการข้อมูล/ข้อมูลสถิติด้านการศึกษา/ข้อมูลสถานศึกษา.aspx

สุนันทา สังขทัศน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยใช้แนวคิด Balance Scorecard (BSC). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

อมรเทพ สุรัตนวนิช. (2544). การบริหารงานการเงินของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้ปฏิบัติงานการเงิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สิงห์บุรี และ อ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Lau Cho Yau. (2004). Management accounting in Education stakeholder perceptions in Singapore (Doctorate of Education). United Kingdom: University of Leicester.