การพัฒนาความความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เรื่อง ระบบนิเวศ

Main Article Content

ตะวัน รุ่งแสง
เมษา นวลศรี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (3) ประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดปทุมธานี ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบ 1 กลุ่ม ที่มีการทดสอบก่อนและหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (2) คะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผลการประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มากพูน. (2548). ผลการเรียนการสอนด้วยวิธีสตอรี่ไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาภาษาไทยและเจตคติต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). พัฒนาการคิด พิชิตการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. (2542). Child centred: storyline method : การบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยเน้นผู้รียน. เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

อริย์ธัช ฉ่ำมณี, อรัญ ซุยกระเดื่อง และ อาทิตย์ อาจหาญ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์วิชาประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (3). 301-313.

อุมาพร ปิ่นเนตร. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วยวิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bell, S. and Fifield, K. (1996). An introduction to the storyline method. Glassgow, Scothland:

Jordanhill College.

Fitz - Gibbon and Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.