การสร้างสื่อการเรียนรู้ผ่านวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถจำ การใช้คำประกอบการสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่องการสร้างสื่อการเรียนรู้ผ่านวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถจำการใช้คำประกอบการสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) สร้างวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2.) ทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยวกับวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ 80:80 3.) เปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยวิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คนผ่านกระบวนการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.) วิดีโอแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2.) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Additional Expressions 3.) แบบทดสอบเรื่องคำประกอบการสนทนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การทดสอบทดสอบประสิทธิภาพสื่อแสดงให้เห็นค่า E1:E2 อยู่ที่ 78.9:76.6 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในการวัดค่าวิทยพิสัยในระดับต่ำสุด ที่ 80:80 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2556 : 1-20.) 2. การทดสอบระหว่างเรียน 1-3 ของนักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 7.44 (S.D. 1.15 ซึ่งเท่ากับ 74.44% ของคะแนนสูงสุดและผ่านเกณฑ์ 50% ของโรงเรียนมัธยมศึกษาวัดเบญจมบพิตร ในขณะเดียวกัน กลุ่มเป้าหมายทำคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนอยู่ที่ 23 (S.D. 2.65) ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนที่ 6.33 (S.D. 3.06) โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าอยู่ที่ 16.67 (S.D. 5.51) ซึ่งสูงกว่าเดิม 55.56%
Article Details
References
กิรณา จิรโชติเดโช. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (3), 64-81.
จิราภรณ์ เฟื่องฟุ้ง. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานการวิจัยศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.วิทยาลัยครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 1-20.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. ออนไลน์. สืบค้น 3 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://clm.up.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=175132
นรินธน์ นนทมาลย์ และ ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2560). แนวทางการออกแบบการสอนแบบเปิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้วิดีโอเป็นฐาน: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (1), 123-143.
ภัทรนิล เทพวงศ์. (2559). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อ E1/E2 ที่ถูกต้องโดย อ.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ล่าสุด. ออนไลน์. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา https://www.kruachieve.com/เรื่องราวน่าสนใจ/การทดสอบประสิทธิภาพสื่/
Ahmed Mohamed Fahmy Yousef et al. (2014). The State of Video-Based Learning: A Review and Future Perspectives. International Journal on Advances in Life Sciences. 6 (3&4), 122-135.
Asha Pandey. (2019). 6 Must-Use Video-Based Learning Strategies in 2019. Online. Retrieved October 3, 2020. from: https://www.linkedin.com/pulse/6-must-use-video-based-learning -strategies-2019-asha-pandey
Baldwin et al. (2010). Multiword Expressions. Online. Retrieved October 18, 2020. from: https://people.eng.unimelb.edu.au/tbaldwin/pubs/handbook2009.pdf?fbclid=IwAR1l5Jfl9X5j1qgT8-VaOYx1Y0Gj5wri7C9KCwj9DGjfqWOM2OAOGPJrdPY
Christopher Wright. (2014). "Teacher Chris" dissected Thai education. Online. Retrieved October 3, 2020. from: https://www.posttoday.com/politic/report/304247.
Francesca Masini. (2005). Multi-word expressions between syntax and the lexicon: The case of Italian verb-particle constructions. SKY Journal of Linguistics, 18,145-173
Haidee Thomson. (2018). Building Speaking Fluency with Multiword Expressions. TESL Canada Journal. 34 (3), 26-53.
Helen Colman. (2019). Learning: How to Become a Training Video Ninja. Online. Retrieved October 3, 2020, from: https://www.ispringsolutions.com/blog/video-based-learning-how-to-become-a-training-video-ninja.
Ira Ndyra. (2012). Idiom and fixed expression. Online. Retrieved October 18, 2020. from: https://www.slideshare.net/irandyra/idiom-and fixedexpression?fbclid=IwAR2ckPH FrOyGs1eJH93GUCtgstMNXLLtxB1oqrYxIvx897b3KC_PHduqjdU
Ivan A et al. (2002). Multiword Expressions: A Pain in the Neck for NLP. N.P.: n.p
McArthur, TomsamDam. (1992). The Oxford Companion to the English Language. Oxford: Oxford University Press.
Michail Giannakos et al. (2014). Video-Based Learning and Open Online Courses. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET). 9 (1), 4-7