ความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พึงรัก ริยะขัน
อรรถพล วงศ์ชัย
นนทชา ชัยทวิชธานันท์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเมืองของเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการด้านการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเมืองของเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมในพัฒนาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่ จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และแบ่งตามสัดส่วนประชากรในแต่ละชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
          ผลการวิจัย 1) ความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตเมืองของเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.99, SD 0.64)  ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย3.88, SD 0.64) และด้านสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.90, SD 0.61) และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการด้านการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่มีรายได้ ความพอเพียงของรายได้ ลักษณะครอบครัวและการได้รับการเกื้อหนุน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันในความต้องการการยอมรับและการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุด้านสังคมและเศรษฐกิจ จึงเป็นไปตามที่สมมุติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนรัตน์ คาเพชรดี วัลภา สบายยิ่งและนิรนาท แสนสา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4. วันที่ 25 มีนาคม 2556. อุบลราชธานี.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558).รายงานประจำปี 2558 กรมกิจการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์และแผนงานกรมกิจการผู้สูงอายุ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). แนวโน้มโลก 2050 ตอนที่ 3 : สังคมโลก...สังคมผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/ 611956

จิณณ์ณิชา พงษ์ดี และ ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2558). ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3 (4), 561-576.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และ ยุวดี รอดจากภัย. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 9 (2), 13-20.

มัลลิกา มัติโก และ รัตนา เพ็ชรอุไร. (2542). ประมวลสถานภาพทางสุขภาพและสังคมของผู้สูงอายุไทย:วิเคราะห์จากวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลัดดา บุญเกิด. (2557). ความต้องการด้านสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพัฒน์ จำปาหวาย. (2554). การพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชุมชน.วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (วิทยาศาสตร์สุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.