การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง จังหวัดพิษณุโลก (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเขตชุมชนเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุตั้งแต่ 60 ปีเป็นต้นไป จำนวน 400 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนประชากรในแต่ละชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง มีระดับคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน การดำรงตำแหน่งในชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน สิ่งแวดล้อมในชุมชน และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ซึ่งร่วมกันอธิบายการแปรผันของระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวมได้ร้อยละ 82.2 โดยปัจจัยที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวมมากที่สุด คือ การดำรงตำแหน่งในชุมชน รองลงมา คือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร สิ่งแวดล้อมในชุมชน และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ดังนั้น ถ้ามีการพัฒนาปัจจัยทั้ง 4 ดังกล่าวจะทำให้ผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองพิษณุโลก มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). ยุทธศาสตร์แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน2562. แหล่งที่มา: http://www.dop.go.th/th
ทิพย์อรุณ สมภู่. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.งานวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรียาภรณ์ ตั้งเพียร. (2551). การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใน
ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผู้สูงอายุล้นโลก. (2552). สถานการณ์ผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2552. แหล่งที่มา: http://www.the-thainews.com/analized/inter/int010550_htm
สุพร คูหา. (2552). แนวทางการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Graeme Hugo. (1992). Review of the Population Aging Situation and Major Aging Issues at Local Levels in Productive Aging in Asia and the Pacific. Asia Population Studies Series. ESCAP, UN.