รูปแบบการสร้างจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ในจังหวัดเลย

Main Article Content

พระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร
พระรุ่งโรจน์
ทวีศักดิ์ ใครบุตร
จิณณวัฒน์ แทนพันธ์
ณัฐพงษ์ ขจรแสงเจริญ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการสร้างจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ในจังหวัดเลย และ (2) พัฒนารูปแบบการสร้างจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ในจังหวัดเลย ประชากร ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งในจังหวัดเลย จากการสุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 200 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีเจตคติที่ดีต่องานจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.50, S.D. = 0.75) นักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีพฤติกรรมที่แสดงออกทางสังคมด้านจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเกือบทุกครั้ง (  = 4.05, S.D. = 0.78) นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งได้ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ของนิสิตนักศึกษาด้วย เพราะงานจิตอาสาคือความตระหนักของบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกปรารถนาที่จะช่วยเหลือสังคม ต้องการเข้าไปแก้วิกฤตการณ์โดยรับรู้ถึงสิทธิควบคู่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ จากการสัมภาษณ์นักศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์มีความโดดเด่นด้านกิจกรรมจิตอาสา และควรมีแนวนโยบายที่ชัดเจนด้านจิตอาสาและการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แก่นักศึกษา ซึ่งนักศึกษาเองก็พร้อมที่จะขับเคลื่อนและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ จิตอาสามีรูปแบบที่ชัดเจน คือ นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อกิจกรรมจิตอาสา การรับรู้ความสามารถของตน การเห็นคุณค่าในตนเอง สิ่งจูงใจให้เกิดจิตอาสา พฤติกรรมที่แสดงออกทางสังคม การมีตัวแบบด้านจิตอาสา และมีการสนับสนุนทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์. (2556). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. วารสารรัฐสภาสาร. 61 (1), 77-87
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทวีพรินท์ จำกัด (1991).
ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2561). จิตสาธารณะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://my.dek-d.com/plam-my/blog/?blog_id=10224521.
นิภา เมธาวีชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
เนตรนภิส แพงพา. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านโมนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญสม หรรษาศิริพจน์. (2542). จิตสำนึก. วารสารวิชาการสภาอาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์. 4 (1), 71 – 73.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2553). ประวัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://mbu.ac.th/index.php/aboutmbu/2012-11-14-02- 25-50.
สมหมาย วิเศษชู. (2554). การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนฆ้องชัยวิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 - 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go .th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
หฤทัย อาจปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตและความ สามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.