ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพสารสนเทศที่ส่งผลต่อ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

พลวัชร์ จันทรมงคล
รัชดา ภักดียิ่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) ปัจจัยคุณภาพสารสนเทศที่ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่าระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการขาย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 56.9 2) ปัจจัยคุณภาพสารสนเทศที่ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ระดับความคิดเห็นปัจจัยคุณภาพสารสนเทศ อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสารสนเทศตามบริบทของงาน ด้านการปฏิสัมพันธ์ ด้านการแสดงสารสนเทศ และด้านเนื้อแท้ของข้อมูล ปัจจัยคุณภาพสารสนเทศทุกด้าน คือ มิติคุณภาพเนื้อแท้ของข้อมูล มิติคุณภาพสารสนเทศตามบริบทของงาน มิติคุณภาพด้านปฏิสัมพันธ์ และมิติคุณภาพด้านการแสดงสารสนเทศ ส่งผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 59.9

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์. วารสารเกษมบัณฑิต. 21 (1), 88-99.

พรสวรรค์ ชัยมีแรง และ อุมาวรรณ วาทกิจ. (2563). กลยุทธ์การจัดการด้านการตลาด โดยใช้การพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (9), 410-424.

พิริณฎา หลวงเทพ และประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7 (2), 621-638.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ลลิตา พ่วงมหา และ พัชนี เชยจรรยา. (2563) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคชาวไทยต่อธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในทัศนะของนักวิชาการและนักวิชาชีพ. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 13 (1), 84-93.

วิชุดา ไชยศิวามงคล และคณะ. (2560). สภาพปัจจุบันของคุณภาพสารสนเทศของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริบทประเทศไทย กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการที่พัก. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 35 (4), 24-54.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). K SME Analysis ปรับธุรกิจให้ทัน รับกระแส E-Commerce โต. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.kasikornbank.com/th/business /sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/E-Commerce_E-Market-Place.pdf

สมทบ แก้วเชื้อ และคณะ. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 15 (2), 33–44.

สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (2559). สถานการณ์อีคอมเมิร์ซที่สำเร็จและล้มเหลว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://news.thaipbs.or.th/content/253392

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/ Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2019_Th.aspx? viewmode=0

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.etda.or.th/th/ Useful-Resource/publications/Value-of-e-Commerce-Survey-in-Thailand-2019.aspx

สุมิตรา เชตรี, ศักดิ์สินี กลิ่นสุนทร และภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2562) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. 5 (2), 49-62.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc.

Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.). N.J: Pearson Education.

thumbsupteam. (2556). 90% ของธุรกิจ E-Commerce เกิดใหม่ ปิดตัวภายใน 120 วัน! (Infographic). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.thumbsup.in.th/avoiding-the-pitfalls-of-ecommerce-infographic

Laudon, K C. And Laudon J P. (2012). Management Information Systems: Managing the Digital Firm. (12th ed.). N.J: Prentice.