การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้า สมุทรปราการ

Main Article Content

ศิริกานต์ ศิริป้อ
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ขอบเขตในการวิจัยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ จำนวน 44 คน  และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา      สี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ จำนวน 42 คน ทำการทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มทดลองโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง วัดทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาจากการเก็บคะแนนใบกิจกรรมการเรียนรู้ในชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได และทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (เป็นแบบทดสอบเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน)
          ผลการวิจัยพบว่า  (1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  โดยมีค่า E1/E2 คือ 81.93/80.51 (2) ร้อยละของคะแนนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาใน       ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงของนักเรียนกลุ่มทดลองสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาในชุดกิจกรรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมทักษะการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสี่ขั้นบันได เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 23.45 ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริก ศักดิ์สุภาพ (2552). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโยใช้ชุดกิจกรรมฟิสิกส์ PDCA. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จักรพันธ์ พิรักษา.(2553). การเปรียบเทียบกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของ POLYA กับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนิตกานต์ คำวัน.(2555). ประสิทธิภาพและผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาฟิสิกส์ เรื่องปริมาณเวกเตอร์และการเคลื่อนที่แนวตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ คณะวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ชัยยงค์ พรหมวงค์และคณะ.(2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนภรณ์ นนตะแสน. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

นรัตน์ชนก โสภา และคณะ. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง พลังงานแสง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10 (29), 111-119

ภคมน โกษาจันทร์ และคณะ. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13 (1), 58-65

รุ่งนภา พรหมภักดี. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง โดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.10 (48) , 169-176.

วัชรี อาภรณ์พงษ์ (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่โดยรูปแบบการสร้างสรรค์ความรู้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิลปชัย บูรณพานิช. (2545). รายงานการวิจัยและพัฒนาเรื่อง การพัฒนากิจกรรมและเทคนิคการสอนฟิสิกส์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยบูรพา