บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “เก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง”

Main Article Content

พระสมุห์บุญฤทธิ์ มหาปุญโญ (ศรีวิชัย)

บทคัดย่อ

          หนังสือเล่มที่ผู้เขียนจะนำมาวิจารณ์นี้  เป็นบทเทศนาของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ  ในเรื่อง  “เก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง” ผู้เขียนจึงกราบขอขมาบุรพาจารย์หลวงพ่อพุทธทาสด้วย  หากกระผมได้ใช้คำวิจารณ์คำใดคำหนึ่งที่ไม่เหมาะสมในการเขียนครั้งนี้   การเก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง  ขอทำความเข้าใจเสียก่อนว่า  ไม่ใช่หมายความว่า เราจะเก็บไว้ให้ร่ำรวยด้วยความโกรธ หรือว่ากักตุนความโกรธเอาไว้ใช้คราวละมาก ๆ คำว่า เก็บใส่ยุ้งฉาง คือไม่ให้ความโกรธออกมาเพ่นพ่าน  ด้วยเหตุที่ว่าความโกรธมันเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้เราสมควรที่จะเก็บมันใส่ยุ้งฉางไว้ให้ดี  เพราะว่าเดี๋ยวนี้หากเราทุกคนยังละความโกรธไม่ได้ ก็เก็บมันเอาไว้เสีย เพราะสัตว์โลกที่เกิดมาประกอบไปด้วยกิเลส  ถ้าหมดกิเลสเสียแล้วก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ากิเลสมันมีอยู่ก็อย่าใช้กิเลสนั่นแหละดีที่สุด
          องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอาไว้ว่า  ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก1  (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539 : 224 – 226)
          เมื่อผู้เขียนพิจารณาแล้วจึงเห็นว่า สมดังที่พระพุทธองค์ได้เคยตรัสเอาไว้ว่า ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ สงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย 2 (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539 : 633-639) หมายความว่าแก่ตนและแก่บุคคลอื่น  เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลาดังนี้ฯ

Article Details

บท
บทความปริทรรศน์

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ). (2548). เก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ประยุตโต). (2551). ทำอย่างไรจึงจะหายโกรธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุภา จำกัด