ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริลักษณ์ พวงระย้า
กัลยมน อินทุสุต

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 168 คน จากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Morrison และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficeint) ได้คะแนนเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพื้นฐานใช้การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One- way analysis of variance)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส เขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ขวัญใจ สุขยงค์. (2559). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต1. การศึกษาอิสระ(การบริหารการศึกษา). ฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จุไรรัตน์ จันทไทย. (2553). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในเขตอำเภอภูพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เฉลิมวุฒิ สืบสม. (2555). ความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.

ดวงดาว ภูกา. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายการศึกษาผานางคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์ เครือข่ายเกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นุจรี ไพบูลย์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรชัย อินอ้อย. (2562). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพชรา ชาญฟั่น. (2556). ความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เครือข่ายโรงเรียนอำเภอพรหมพิราม 6 จังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยทองสุข.

ลภัสธยาน์ วรกฤติประเสริฐ. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุพรรษา บำรุง. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. การศึกษาอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค. (2557). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.