วิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์

Main Article Content

ประธาน คงเรืองราช
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ

บทคัดย่อ

          วิภาษวิธีของมาร์กซเป็นการอธิบายแบบจัดคู่ขัดแย้งว่า สรรพสิ่งใดๆ ล้วน ดำรงอยู่อย่างขัดแย้งเป็นสภาวะคู่ตรงข้ามกันเสมออย่างเป็นกฎเกณฑ์ สรุปเป็นทฤษฎีว่า วัตถุมีความขัดแย้งตลอดเวลา ความขัดแย้งทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ความเคลื่อนไหว  เกิดความเปลี่ยนแปลง ขัดแย้ง เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ประยุคขึ้นอธิบายสภาวะทางสังคมตามยุคสมัย เป็นการอธิบายประวัติศาสตร์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ตามกฎวิภาษวิธีได้
          การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมมุ่งสนใจส่วนที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ สนใจเรื่องการผลิต และการทำมาหากิน เรื่องปากท้องของมนุษย์ว่าเป็นรากฐานของประวัติศาสตร์ และเมื่อพลังการผลิตเปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบให้ความสัมพันธ์ในการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นการขัดแย้งกับโครงสร้างส่วนบนซึ่งพยายามที่จะรักษาสถานภาพเดิมจึงเกิดขึ้น ทำให้เกิดการปฏิวัติสังคมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันโครงสร้างส่วนบนอันได้แก่ ระบบการเมืองและวัฒนธรรม จะต้องเปลี่ยนแปลงจนสอดคล้องกับพลังการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์ เพราะฉะนั้นการมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมดังกล่าวแล้ว จะทราบได้ว่าพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นเรื่องของความขัดแย้งเชิงเศรษฐกิจ 
          การวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยถือเอาเศรษฐกิจเป็นตัวนำในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองแล้วย่อมมีความสำคัญต่ออุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอันมาก ทั้งนี้ เพราะมาร์กซมองการเมืองว่าเป็นการต่อสู้ของชนชั้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขัดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประธาน คงเรืองราช. (2564). วิภาษวิธีของนาคารชุน. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุรพงษ์ ชัยนาม. (2527). ทฤษฎีการปฏิวัติสังคม. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายการพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา
ธิราช.
Julian Hoppit. (2011). The Nation, the State, and the First Industrial Revolution. University of Birmingham, UK: Journal of British Studies.
Richard Leakey. (1981) The Making of Mankind. Bangkok: ทรงกลม.