การพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสำหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เบญจมาศ สุวรรณวงศ์
พระมหาสุพร รกฺขิตธมฺโม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสำหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยในเชิงคุณภาพภาคสนาม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์  และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ Startup เชิงพุทธ
          ผลการวิจัยพบว่า Ecosystem ระบบนิเวศทางธุรกิจ Startup คือระบบที่เชื่อมโยงกันของห่วงโซ่ทางคุณค่าของธุรกิจแต่ละหน่วยที่สามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนธุรกิจร่วมกันมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ 1) Startup Company กลุ่มสตาร์ทอัพ 2) Investor กลุ่มนักลงทุน 3) Supporting Organization ได้แก่ Incubator / Accelerator, Government, Association, Coworking Space,  Academy ,Event,  Media
          การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก คือ หลักพรหมวิหารธรรม หลักอปริหานิยธรรม 2) ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า คือ หลักปาปณิกธรรม  หลักสังคหวัตถุ 4  หลักบุญกิริยาวัตถุ 3  หิริ และโอตตัปปะ 3) ด้านการผลิตและงานสนับสนุนการผลิต คือ หลักสัปปุริสธรรม และหลักทิฏฐธรรมิกัตถะ 4) ด้านการบริหารจัดการด้านบัญชีและการเงิน คือ หลักฆราวาสธรรม หลักคิหิสุข 5) ด้านการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน คือ หลักอิทธิบาท 4 หลักกัลยาณมิตร 6)ด้านการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ Startup ได้แก่ หลักสัมมาอาชีวะ หลักโภควิภาค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา เสกตระกูล (2561). SET Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2561). SET Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ณัฐวุฒิ วิเศษ.(2552). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ปานระพี รพิพันธุ์. (2563). Thailand 4.0 ประเทศไทย 4.0 คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.it24hrs.com/2017/thailand-4-0
ศศิรินทร์ สายะสนธิ์. (2563). ทําไม Startup ในไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จ?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760159
ศุภชัย เหมือนโพธิ์.(2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.