สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักร เซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการ การส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตวัฒนา,กรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในเครือข่ายมูลนิธิฯ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เปิดตารางของ Krejcie and Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 140 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.969 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในเครือข่ายมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์และด้านการพัฒนาตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Seheff’e)
3.1 ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ พบว่า ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 12 ปี และ 15 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็น แตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 12 ปี มีความคิดเห็นเฉลี่ยสูงกว่า 15 ปีขึ้นไป
3.2 ด้านการพัฒนาตนเอง พบว่า ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 12 ปี และ 15 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็น แตกต่างกัน โดยครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 12 ปีมีความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุด
Article Details
References
กมลพัชร หินแก้ว. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ข). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และทีแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ขจรศักดิ์ ศิริมัย. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมรรถนะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา:
http://competency.rmutp.ac.th/wpcontent/uploads/2011/01/aboutcom petency.pdf
จิรนันท์ ขจรบุญ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชัยยนต์ เพาพาน. (2563). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.conference.ksu.ac.th/file/20160809_2488 101126.pdf
นภารัตน์ หาเจริญ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บรรลุ ชินน้ำพอง. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://so02.tcithaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/50807/42042
ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภคินี มีราวา. (2560). สมรรถนะผ้บริหารโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www. edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/348.ru
วิมลรัตน์ ศรีสำองค์. (2558). สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งงที่มา: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/43899/36311
สมควร เสือเทศ. (2554). การพัฒนาตนเองตามมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/723
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2553). พระราชบัญญัตติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติ่ม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. (2537). นโยบายการพัฒนาข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.(2553). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกําหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th /sites/default/files/document/25531130-khuumuuekaarkamhndsmrrthnaainraachkaa rphleruuen-khuumuuesmrrthnahlak-isbn-9786165480734.pdf
สมจิตรา เรืองศรีและคณะ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผ้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่