การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 241 คน จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen and Morrison Cohen ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงเนื้อหาระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเครื่องมือด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ .962 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของครูมีต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับครู 2) การส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในองค์การ 3) การสร้างภาวะผู้นำให้กับครู และ 4) การสร้างบรรยากาศในองค์การ อยู่ในระดับมาก
2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่ต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูในภาพรวม ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ครู และด้านการสร้างบรรยากาศในองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 5-10 มีความคิดเห็นต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของครูมากกว่าครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี
Article Details
References
เฉลิมขวัญ จ้านสกุล. (2559). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐวุฒิ ปั้นเหน่งเพชร. (2559). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจระดับบุคคลของครูอัตราจ้างในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดวงกมล อนุเอกจิตร. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตรียพล โฉมไสว. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ธัณย์สิตา สุรศิษฐ์ชานล. (2562). ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรภัทร คงกัลป์. (2559). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงานของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
วนิดา ทิพย์กมลธนกุล. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรพงศ์ โฆษิตพิมานเวช และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8 (3), 24-31.
สุขวัชร เทพปิน และ ศศิรดา แพงไทย. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (5), 217-229.
สุพิชชา สอนสวัสดิ์. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยผ่านทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรวิทยาลัยชุมชน สังกัดสำนักงานบริหารงานวิทยาลัยชุมชนต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุมาลี สุธีกุล. (2557). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีงบประมาณ พ.ศ.2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https:// www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/08/obec61.pdf
อรทัย ปาอ้าย. (2558). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยตามแนวคิดแบบเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฏีนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Aydın Balyer. (2017). Teacher Empowerment: School Administrators’ Roles. Eurasian Journal of Educational Research. 17 (70), 1-18.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.
Mohammad Aliakbari and Fatemeh Azimi Amo. (2016). The Effects of Teacher Empowerment On Teacher Commitment and Student Achievement. Mediterranean, Journal of Social Sciences. 7 (4), 649-657
Scott, Cynthia D., and Dennis T. (1991). Jaffe. Empowerment: Building a Committed Workforce. California: Kogan Page Limited.
Tebbitt, B. V. (1993). Demystifying organizational empowerment. Journal of Nursing
Administration. 23 (1), 18-23.