ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อการพัฒนางานบริหารงานช่วยเหลือ ดูแลนักเรียนในยุคดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ดเขต 2

Main Article Content

มาลินี ศรีวงค์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ที่มีต่อการพัฒนางานบริหารงานช่วยเหลือดูแลนักเรียนในยุคดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ดเขต 2 จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน ในอำเภออาจสามารถ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2  จำนวน 58 โรงเรียน จำนวนผู้บริหารและครู 539  คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน ในอำเภออาจสามารถ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนผู้บริหารและครู  229  คน  ใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ  Taro Yamane  ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ได้แบบสอบถามกลับคืนมา 226 คน คิดเป็นร้อยละ 98.68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .813 สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA  เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparison method) 
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความคิดเห็นต่อการพัฒนางานบริหารงานช่วยเหลือดูแลนักเรียน ภาพรวมเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระด้บมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการส่งต่อ ( =4.04 ) รองลงมา คือ และด้านการรู้จักนักเรียน และการคัดกรอง ( =4.03 ) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ( = 4.01)
          2. ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนางานบริหารงานช่วยเหลือและดูแลนักเรียนในโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ผู้บริหาร มีความคิดเห็นต่อการพัฒนางานบริหารงานช่วยเหลือและดูแลนักเรียนมากกว่าครูในภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่พบความแตกต่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณปิติ วงศ์ษา. (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1510845975 _5814470621.pdf

ทรงศักดิ์ คำภักดี. (2556). สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เบญจวรรณ เจนเขตกิจ. (2559). ความคิดเห็นของครูต่อการดำเนินงานช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประสาน จินตนากูล. (2555). สภาพและปัญหาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

ปิยะนุช เสถา. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนเหล่าคามพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

เพ็ญศรี นิตยา. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนิน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

เสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์. (2552). สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ยุค Digital 4.0 เมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.ops.moe.go.th/ops2017/สาระน่ารู้/2876-ยุค-digital-4-0-เมื่อโลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี-25-ก-ย-2561

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2558). การรู้ดิจิทัล (Digital literacy). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/142-knowledges/2632

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ฮาซันพริ้นติ้ง.

อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2556). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.