กรรมของนางจิญจมาณวิกา

Main Article Content

พระมหาสุพล สุพโล (สุขดา)
พระมหามิตรฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

          กรรมเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา แบ่งออกเป็น 3 คือ การกระทำมีแสดงออกด้วยเจตนาทางกาย เรียกว่า กายกรรม การกระทำที่แสดงออกด้วยเจตนาทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม การกระทำที่แสดงออกด้วยเจตนาทางใจ เรียกว่า มโนกรรม ซึ่งจะส่งผลไปตามเจตนานั้น ๆ คือ เจตนาดีก็จะส่งผลไปทางด้านกุศลกรรม ถ้าเจตนาไม่ดีก็ส่งไปทางด้านอกุศลกรรม การกระทำของนางจิญจมาณวิกาที่จัดว่าเป็น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ทำให้ผลกรรมของนางนั้นได้ปรากฎดังต่อไปนี้ 1) ชนกกรรม เป็นผลกรรมที่นางจิญจมาณวิกาได้รับจากอดีตชาติที่ได้เคยกระทำไว้ 2) อุปัตถัมภกกรรม เป็นผลกรรมที่ทำให้นางนั้นได้ถูกธรณีสูบและตกนรกอเวจีในที่สุดและยังจะมีผลต่อไปหากนางจิญจมาณวิกาได้กลับมาเกิดอีกก็เป็นได้ 3) อุปฆาตกกรรม เป็นผลกรรมที่ส่งผลในชาติปัจจุบัน คือ ทางโดนชาวบ้านไล่ทุบตีและถูกธรณีสูบตกนรกอเวจีทั้งเป็น เนื่องจากได้กระทำกรรมอันหนักต่อพระพุทธเจ้า 4) ครุกรรม นางจิญจมาณวิกานั้นถือว่าได้กระทำกรรมหนักเพราะว่าเป็นการกระทำที่เป็นกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม ซึ่งกรรมนั้นส่งผลทันทีทั้งนี้นั้นเพราะนางได้กระทำกรรมที่ผิดต่อพระพุทธเจ้า จนทำให้ครุกรรมนั้นส่งผลโดยนางจิญจมาณวิกาได้โดยธรณีสูบในที่สุดและตกนรกอเวจี 5) อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นผลกรรมที่จะส่งผลของการกระทำที่นางจิญจมาณวิกาได้กระทำไว้นั้นจะมีผลให้นางได้รับกรรมนั้นในชาติหน้าอีก โดยยกตัวอย่างในครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับเหล่าสาวกถึงการกระทำของนางจิญจมาณวิกาในครั้งอดีตชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณาจารย์สํานักพิมพ์เลี่ยงเชี่ยง. (2547). กรรมบถ ธรรมศึกษาชั้นเอก ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชี่ยง.
มนตรี สืบด้วง. (2548). กรรมนิยามและปัญหาจริยศาสตร์สมัยใหม่. วารสารศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. 5 (1), 36-62
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2547). กฎแห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2538). โอสาเรตัพพธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2545). กรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 12).
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2561). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดา.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2551). หลักกรรมใน พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (2546). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์พรินติ้ง จำกัด.