ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

บุณยาพร พันธ์โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี จำนวน 1,463 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 297 คน จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมวิจัยในชั้นเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  .92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe  ผลการวิจัยพบว่า
          1) ความคิดเห็นของครูที่เกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี  โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
          2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในจังหวัดสระบุรี  สามารถสรุปผลได้ ดังนี้
            2.1) ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            2.2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา วัฒายุ. (2552). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนพรการพิมพ์.

คชาภรณ์ ฉันทประเสริฐวุฒิ. (2553) บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูและ ผู้บริหาร สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพใต้ . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จารี อ้นนาค . (2557). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูและผู้บริหาร สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพใต้ . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จรินทร์ ศรีสุวรรณ. (2555). ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 63. แหล่งที่มา: http://jsrisuwan.blogspot.com/2012/04/blog-post_07.html

ดรุณี มูลคำภา. (2557). การทำวิจัยในชั้นเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 63. แหล่งที่มา: http://saraburispecial.ac.th/news-detail_931_5833.

ถนอมศรี แซ่ฮั่น. (2551). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีครู สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา. ฉบับอัดสำเนา. สารนิพนธ์(ศน.ม)—มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิและคณะ. (2559). การศึกษาอิสระ Independent Studies. กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.

รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สพม.4. (2562). (O-NET). ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/a/ssps4.go.th /ssps4main/publicfile/report-main/report-on

รัชนี นาทสีทา. (2556). บทบาทการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วิชาสุทธิ์ ทิพย์วงศ์. (2557). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการส่งเสริม การวิจัยในชั้นเรียนของครู กลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วิภารัตน์ เสนี. (2560). การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วรรณนิภา บัญดิษฐตา. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สู่การศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สุภาวัฒน์ ห้วยทราย. (2554). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนต่อการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

อมรรัตน์ ชนะเลิศ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

อังคารพิสุทธิ์ สยามประโคน. (2559). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหาร สถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Maslow, Abraham H. (1954). Motivation and Personlity. New York: Harpers and Row.

Frederick, Herzberg et al. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.