การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Main Article Content

ธิติญาพร ทองเมือง
ชนมณี ศิลานุกิจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของแต่ละโรงเรียนและการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีการรับรู้ต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษกลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพวรรณ วงษาลาภ. (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนโสตศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาคกลางสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ธมลวรรณ ภูผาพลอย. (2559). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียนวัดทุ่งครุ สำนักงานเขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พงศกร อดุลพิทยาภรณ์. (2560). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สริศา ตาใส่. (2557). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนแม่จริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1. การค้นคว้าอิสระ (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สายนภา ดาวแสง. (2559). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุไรรัตน์ ภูคงคา. (2557). การบริหารงานวิชาของกลุ่มโรงเรียนท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.