การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H

Main Article Content

นิตติยา เหง้าโอสา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H ก่อนและหลังสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) ศึกษาความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H ก่อนเรียนหลังเรียน และเปรียบเทียบหลังเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 75 4) ศึกษาความคิดเห็นครูต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ) ปีการศึกษา 2562 จำนวน 115 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และครูภาษาไทย 3 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ของครู แบบสังเกตการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านจับใจความ และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าที (t-test) แบบ Dependent และแบบ One Sample t-test  
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H คะแนนการทดสอบหลังสร้าง มีค่าเฉลี่ย 9.50 ก่อนสร้างชุมชน มีค่าเฉลี่ย 6.00 พบว่าความรู้ของครูหลังสร้างสูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
          2. ความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H มีค่าเฉลี่ย 9.11 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก
          3. ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 76.23
          4. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกสมณี สีโม. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค 5W 1H โดยใช้ชุดหนังสือวิถีชีวิตชนเผ่าเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ดวงพร เฟื่องฟู. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค 5W 1H เพื่อส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิรันดร จันลาวงศ์. (2558). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนทรายคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิลรัตน์ โคตะ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2559). บันเทิงชีวิตครู สู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

สำลี รักสุทธี. (2553). สอนเด็กอย่างไรให้เด็กอ่านนออก อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านเป็น เขียนได้ เขียนคล่อง และเขียนเป็น. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

สุกัญญา จันทประสาน. (2555). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H และแผนผังกราฟิก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุธิภรณ์ ขนอม. (2559). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิทย์ มูลคำ. (2548). กลยุทธ์การสอนคิดบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

อธิศ ไชยคิรินทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.