บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนัก บริหารงานการศึกษาพิเศษ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนจากการเปิดตารางของ Cohen ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 140 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือด้านการบริหารทั่วไป 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันแต่มีด้านการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
References
กฤชณรงค์ สุภาพ. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนิสา คูประเสริฐ. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่คาดหวัง และบทบาทที่ปฏิบัติจริงในการ ประกันคุณภาพภายในตามการรับรู้ของบุคลากรของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บังอร นารี. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมบรรยากาศองค์กรตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ปฏิภาณ ตระการ. (2561). การบริหารและจัดการหลักสูตรที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านม่วงชุม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ผดุง อารยะวิญญ (2542). การศึกษาพิเศษในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แว่นแก้ว.
พรพิมล พงษ์กลาง. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านความสัมพันธ์ชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.
พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. (2534). การดำเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
รุ่งระวี เมฆไลย. (2560). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ศุภมาศ อุตลาด. (2561). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนดีประจำตำบลตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison