รูปแบบและคุณค่าพิธีกรรมการบูชาในประเพณีการทำบุญ พระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระครูพิมลธรรมาภรณ์
พระครูสุธีคัมภีรญาณ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบูชาพระธาตุเจดีย์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมการบูชาพระธาตุนาดูน 3) เพื่อเสนอรูปแบบและคุณค่าพิธีกรรมการบูชาในประเพณีการทำบุญพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งได้ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งมีการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
         การบูชา หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความเคารพนับถือหรือสักการะบุคคลผู้ทรงคุณธรรม เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และพระธรรมวินัย อันเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าต่อชีวิตเป็นการบูชาที่แสดงออกถึงความศรัทธาในสิ่งที่ตนเคารพนับถือ ด้วยสิ่งของบ้าง ด้วยการแสดงออกบ้าง การบูชา มี 2 ประการคือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา   
         พระธาตุนาดูนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทั้งทางหลักฐานทางโบราณคดี ลักษณ์พุทธศิลป์ จังหวัดมหาสารคามจากหลักฐานที่สำคัญได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,300 ปีมาแล้ว ซึ่งพิธีกรรมของชาวอำเภอนาดูนที่มีต่อองค์พระธาตุพบว่ามีพิธีสำคัญ คือ 1) พิธีกรรมทางพราหมณ์ ได้แก่ พิธีกรรมบวงสรวง พิธีกรรมบวงสรวงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พิธีกรรมสูตรขวัญกุ้มข้าวใหญ่ พิธีกรรมบ๋าหรือบนบาน พิธีกรรมปงหรือแก้บน พิธีกรรมขอขมา 2) พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พิธีสรงน้ำพระธาตุ พิธีเวียนเทียน พิธีปฏิบัติธรรมบูชาพระธาตุ พิธีเปลี่ยนผ้าห่มพระธาตุ
          รูปแบบพิธีการบูชาในประเพณีการทำบุญพระธาตุนาดูนนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การบูชาแบบปฏิบัติบูชา การบูชาแบอามิสบูชา คุณค่าประเพณีการบูชาพระธาตุนาดูนในด้านความงาม ผู้วิจัยนั้นแบ่งออกเป็น 2 คือ ความงามภายใน เป็นความงามที่แสดงออกถึงกิริยามารยาทอันประกอบด้วยศีลธรรม และความงามภายนอก เป็นความงามในด้านกิจกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นจนเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ที่มาร่วมงานนมัสการพระธาตุประจำปี ตลอดทั้งความเป็นเอกลักษณ์ในด้านการแต่งกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฝ่ายประชาสัมพันธ์. (2552). ประวัติพระธาตุนาดูน มหาสารคาม. เอกสารเผยแพร่การท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทยา ประทุมธารารัตน์ และคณะ. (2541). พระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพมหานคร: ธารบัวแก้ว.
สมหมาย เปรมจิตต์ และคณะ.(2524). พระเจดีย์ในล้านนาไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสถียร โพธินันทะ. (2515). ภูมิประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โพธิสามต้นการพิมพ์.
อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. (2555). พระบรมธาตุนาดูน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: นาดูนการพิมพ์.