หลักธรรมพละ 5 (ศรัทธาพละ) กับการเกื้อหนุนการปฏิบัติพระกรรมฐาน

Main Article Content

พระสมุห์บุญฤทธิ์ มหาปุญโญ ( ศรีวิชัย )

บทคัดย่อ

          ทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐาน 4 ก่อนพละ 5 ในโพธิปักขิยธรรม สติปัฏฐาน 4 เป็น ฐานของพละ 5 หรือพละเป็นฐานของสติปัฏฐาน หรือพละกับสติปัฏฐานสัมพันธ์กันอย่างไรในขณะปฏิบัติ  เพื่อให้ได้ความกระจ่างอันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาและเกิดศรัทธาเลื่อมใส ในคำสอนของพระพุทธองค์ผู้เป็นสัพพัญญู  อันจะนำไปสู่ประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาและ เป็นองค์ความรู้สำคัญของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่จะนำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ธรรมอันเป็นกำลังที่ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ต่อไป
          พละ หรือ พละ 5 คือ กำลังห้าประการ ได้แก่ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย ความวิตกวิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท ความงมงายสมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่านปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุม การทำเกินพอดี
          ศรัทธาพละ คือการกำหนดอารมณ์วิปัสสนาน้อยอย่าง แคบกว่าหยาบกว่ากำลังของสติและสมาธิที่มีอยู่ ซึ่งในตอนแรกทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ดี แต่ถ้าอารมณ์ที่ใช้กำหนดน้อยเกินไป ในกรณีที่จิตมีสติสมาธิที่เริ่มมีกำลังมากขึ้น จะกลายเป็นทำให้จิตดิ่งสมาธิจนสติอ่อนกำลังการกำหนดรู้รอบตัวลง หรือสมาธิอ่อนกำลังลงอันเกิดจากความชำนาญในอารมณ์ภาวนามากขึ้น จนเหม่อลอยง่าย ทำให้กามวิตก พยาบาทวิตกเกิดขึ้นได้ง่าย แต่เมื่อเพิ่มการกำหนดให้ละเอียดขึ้นสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2251). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. นวโกวาท. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540
สุภีร์ ทุมทอง. (2559). อินทรีย์ 5 พละ 5. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.