ความเชื่อในการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

เพ็ญรุ่งจรัส ตฤณชาติวณิชย์
พระปลัดสมชาย ปโยโค
พระถนัด วฑฺฒโน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างศาสนวัตถุเพื่อการเคารพในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความเชื่อในการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อศึกษาคุณค่าความเชื่อในการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสาร จากหอสมุด จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ตลอดจนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 10 รูป/คน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างศาสนวัตถุเพื่อการเคารพในพระพุทธศาสนา พบว่า การสร้างศาสนวัตถุโดยเฉพาะพระพุทธรูปเป็นสิ่งที่ได้อานิสงส์มหาศาล จัดเป็นพุทธบูชา คือการแสดงความเคารพ การกราบไหว้ การยกย่องนับถือบุคคลที่ควรเคารพนับถือ เป็นมงคลชีวิต ทั้งยังเป็นพุทธศิลป์อันสูงค่า เป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม น้อมระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และนำพระธรรมคำสั่งสอนนั้นไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และท้ายที่สุดเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล หลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิดในภพต่าง ๆ ได้
          2) ความเชื่อในการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุด ควรแก่การสักการะบูชาของชาวพุทธ เพื่อทดแทนพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด ของประเทศอัฟกานิสถาน ที่ถูกกลุ่มตาลีบันทำลาย เพื่อเรียกศรัทธาชาวพุทธทั่วโลกให้กลับคืนมา เพื่อเป็นที่สักการะบูชาและประกอบกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นมรดกคู่ฟ้าดิน บนแผ่นดินอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่เรียกว่าเมืองอู่ทองโบราณ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน ของชุมชนและผู้ที่สนใจทางพระพุทธศาสนา เป็นพระพุทธรูปสักการะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นพุทธมลฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
          3) คุณค่าความเชื่อในการสร้างพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สร้างในดินแดนที่มีความสำคัญและมีคุณค่าในอดีต เป็นดินแดนที่เป็นจุดกำเนิดของพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าอโศกมหาราช ถวายเป็นพระราชกุศลแด่บูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองอู่ทอง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญองค์หนึ่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉมณ์คิด แผนสมบูรณ์. (2562). สารคดี พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ หนึ่งเดียวในไทย ยิ่งใหญ่ในโลกมรดกคู่ฟ้าดิน. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
ธนพันธุ์ เมธาพิทักษ์. (2544). พระพุทธปฏิมากรกับเรื่องราวความเป็นมา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
เจริญกิจ,
พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ และคณะ. (2563). พระพุทธศาสนากับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 219-229.
พระครูสุตภัทรธรรม และคณะ. (2563). Journal of Modern Learning Development, 5 (2), 262-273.
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกรม และคณะ. (2563). จิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (1), 63-80.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2553). พระพุทธปฏิมาสยาม. กรุงเทพมหานคร: มิวเซียมเพรส.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2513). ตํานานพระพุทธเจดีย์. พระนคร:
ศิลปาบรรณาคาร. .
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: เพ็ทแอนด์โฮม,
สัมภาษณ์ นางสาววันฤดี วงศ์อติกานต์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, 13 มีนาคม 2563.
สัมภาษณ์ นายฉมณ์คิด แผนสมบูรณ์ ประชาสัมพันธ์โครงการแกะสลักพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ อำเภอ
อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, 13 มีนาคม 2563.
สัมภาษณ์ นายเดชา ก่อเกิด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุพรรณบุรี, 5 มีนาคม 2563.
สัมภาษณ์ นายทองสุข เหลืองเวชการ เจ้าของร้านขายยาเหลืองเวชภัณฑ์ อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี, 13 มีนาคม 2563.
สัมภาษณ์ พระครูโสภณวีรานุวัตร, (นิคม ณฏฺฐวโร) รองเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร, 5 มีนาคม 2563.
สัมภาษณ์ พระธรรมพุทธิมงคล (สอิ้ง สิรินนฺโท) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี, 5 มีนาคม 2563.
สุวรรณี ฮ้อแสงชัย และคณะ, (2563). มุมมองการศึกษาเชิงปรัชญาการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสันติวิธี. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (1), 180-192.
Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen), Phramaha WeeratisVarinto (Inthapho) and Yota Chaivoramankul. (2020). The Active Ageing in Buddhist Way Index Development of the Elderly in Retired Government Official Group. Solid State Technology, 63 (2s), 1331-1341.
Ven. Kimpicheth Chhon. (2019). Life and Hope Association: Engaged Buddhist Strategy Transforming Compassion into Social Action. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 3 (2), 105-118.