ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ลักขณา อินทร์บึง
อารดา ชัยเสนา
รัชดา ภักดียิ่ง

บทคัดย่อ

        บทความนี้เป็นการศึกษา สภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนและปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือวิสาหกิจชุมชนได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploration Factor Analysis; EFA) โดยหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method)
        ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดขอนแก่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อทำการหมุนแกน (Varimax Orthogonal Rotation) พิจารณาค่า loading ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ค่า Factor loading ตั้งแต่ 0.65 ขึ้นไป ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ พบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการกลุ่มที่ดี 2) ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก 3) ด้านการพัฒนาการผลิต 4) ด้านระบบการเงินและการบัญชี 5) ด้านการวางแผนงาน 6) ด้านความเป็นผู้ประกอบการ 7) ด้านความเป็นผู้นำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยารัตน์ เพ็งพอรู้. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร . วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุติมา หวังเบ็ญหมัดิ และ ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1 (1), 109-124.
ดนยา สงครินทร์ (2563) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากต้นกก ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Modern Learning Development, 5 (2), 178-190.
ทิพยา กิจวิจารณ์. (2558).วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. ขอนแก่น : สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุหลันฉาย สมรรถนเรศวรณ์และคณะ (2561). กลยุทธการจัดการที่ยั่งยืนของธุรกิจขนาดกลางประเภทโรงแรมและที่พักในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9 (1), 41-53.
ภัทธิดา วัฒนาพรรณกิตติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนระดับ 5 ดาว จังหวัดลำปางวารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 10 (2), 17-26
ภูษิต ปุลันรัมย์ และคณะ (2563) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. Journal of Modern Learning Development, 5 (1), 1-16.
ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2562). จำนวนวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนในประเทศไทย. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. แหล่งที่มา : https://smce.doae.go.th/
ศศิภา พิทักษ์ศานต์ (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนไปปฏิบัติ กรณีศึกษาอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24 (3), 33-46.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). สถิติประยุกต์สำหรับนักวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. (2556). ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจผู้ประกอบกานที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยพายัพ: เชียงใหม่.
สมเกียรติ สุทธินากร และคณะ. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,13 (1), 270-283.
อรพินท์ บุญสิน. (2556). ตัวแบบเชิงสาเหตุทุนทางปัญญา ความรู้ เชิงกระบวนการจัดการ ความรู้ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ของสมาชิก ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนวารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6 (2), 457-474.
อัจฉรา ใสบาล และนิวัฒน์ มาศวรรณา. (2557). การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน :กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารแก่นเกษตร, 42 (ฉบับพิเศษ 1),548-554.
Hair et al. (2006). Multivariate dataanalysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Lyndall Urwick & Luther Gulick. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton : Augustus M. Kelley.