ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ จากการเปิดตารางของ Cohen, Manion and Marrison โดยการแบ่งประชากรตามสัดส่วนเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ กำหนดตามแบบวัดโดยวิธีของ Likert Scale สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงนำค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ไปทำการทดสอบโดยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีการรับรู้ต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และด้านการจัดการเรียนการสอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีการรับรู้มากกว่าครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 3) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีการรับรู้ต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป มีการรับรู้มากกว่าครูที่ประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 5 – 10 ปี
Article Details
References
จริญญาภรณ์ ศรีจันดารี และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์ (2563). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพุทธธรรม
ของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Modern Learning Development, 5 (5), 321-332.
ทัศนา วรรณประภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นรีรัตน์ เทศกาล. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในสหวิทยาเขตสตาร์บุษ จังหวัดจันทบุรี สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บาลกีส กาซา (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปิยธิดา ทาปลัด. (2561). ภาวะผู้ทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของ
โรงเรียน กลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรชัย อินอ้อย. (2562). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
บางนา กรุงเทพมหานคร.การศึกษาอิสระสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ลัดดาวัลย์ เชื้อพลบ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตระยอง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิเชียร วรรณภากร. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษาในเขต
อำเภอเมือง จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาลิตา เรียนทัพ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล
การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ตามการรับครูของครูในออำเภอสรรคบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธาณี.
สิริพร ทองประเสริฐ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.