การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

Main Article Content

ไชยยา รัตนพันธ์

บทคัดย่อ

               บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เพราะการติดยาเสพติดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยที่มีสภาพจิตผิดปกติ การแก้ปัญหาก็เป็นการให้การรักษา และหากเห็นว่า ผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้โชคร้ายที่เป็นเหยื่อของปัญหาสังคม เขาก็ควรได้รับการช่วยเหลือ ส่วนวิธีการในการรักษาผู้ติดยาเสพติด ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่เป็นที่ยอมรับ และมีหลักฐานว่า เป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน อาจแบ่งการรักษาได้ดังนี้


  1. การถอนพิษยา เป็นการรักษาอาการของการที่ร่างกายขึ้นกับยา เพื่อจะได้หยุดยาได้ สำหรับผู้ที่ติดยานอนหลับ พวกบาร์บิทูเรต การถอนยาอาจมีอาการมากถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่นอาการไข้สูง ชัก และช็อก การรักษาจึงต้องอาศัยแพทย์ที่มีความรู้และอุปกรณ์เพียงพอ แต่ผู้ที่ติดยา ประเภทฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน อาการถอนยาไม่รุนแรง

  2. การปรับปรุงแก้ไขจิตใจ และบุคลิกภาพ ในโครงการรักษาผู้ติดยาบางโครงการ เป้าหมายหลักในการรักษาเป็นการปรับปรุงแก้ไขด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถหยุดยาได้ตลอดไป หรือลดปัญหาลง 

  3. การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่ติดยาเสพติดมีบุคลิกภาพที่ไม่ดีอยู่เดิม สภาพการที่จิตใจขึ้นกับยา การสร้างสิ่งยึดเหนี่ยว อาจช่วยให้ผลการบำบัดรักษาดีขึ้น

  4. การแก้ไขสภาพแวดล้อม การให้การฝึกอาชีพ การจัดหางาน การสังคมสงเคราะห์ อาจช่วยผู้ติดยาบางคนที่ไม่มีงานทำได้ มีความรู้ความสามารถ ในการทำมาหากิน มีรายได้ เมื่อกลับเข้าไปสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง การให้คำปรึกษาหารือแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของ ผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้าใจปัญหา และได้ช่วยกันแก้ไข เพื่อให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น โอกาสที่จะกลับไปใช้อีกจะได้น้อยลง

  5. การรักษาเพื่อลดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของการติดยาเสพติด เทคนิคการรักษาแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ติดยาเสพติดได้เลิกเสพ และกลับเข้าไปสู่สังคม เป็นพลเมืองดี ของประเทศชาติต่อไป แต่สำหรับผู้ติดยาเสพติดจำนวนไม่น้อย ความหวังที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ยากยิ่ง หรือเป็นไปไม่ได้เลย การรักษาจึงจำเป็นต้องลดเป้าหมายลงมา ไม่ต้องให้ถึงกับหยุดยาเสพติดโดยเด็ดขาด แต่ให้สามารถควบคุมได้ และสภาพการติดยาไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาอาชญากรรม อันเป็นอันตรายต่อสังคมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภาวิณี อยู่ประเสริฐ. (2540).“ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของนักเรียนวัยรุ่นของ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ, หน้า 6.
สันติ จัยสินและคณะ.(2547). เทคนิคการเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ปิ่น โค.(2540).“ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันยาบ้าของ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน มิตร.
พูนสุข นิติวัฒนะ. (2545). “การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ของผู้บริหาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต . บัณฑิตวิทยลัย : มหาวิทยาลัย ศรี นครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เสกสรร สงวนนาม. (2544). “เจตคติต่อยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยา เสพติดของนักศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุดรธานี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล.(2543).“โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพ ยาบ้าของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานค.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ ประสารมิตร.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9 : online แหล่งที่มา http://kanchanapisek.or.th; วันที่สืบค้น 3/2/2562.
สุดสงวน สุธีสร.(2548). เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร พนักงานคุมประพฤติเรื่อง อาชญาทยา (Criminology).