การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงาน

Main Article Content

อนุกูล ศิริจันทร์

บทคัดย่อ

         


                บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ปฏิบัติงาน ติดต่อสื่อสาร การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดการมีส่วนร่วมโดย  มีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้


  1. การมีส่วนร่วมด้านการวางแผน (Planning) คือ การมีส่วนร่วมในการประชุม ให้ความคิดเห็นในกระบวนการจัดวางแผนงาน โครงการ การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงาน งบประมาณ และทรัพยากรการดำเนินการล่วงหน้าของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

  2. การมีส่วนร่วมด้านการจัดแสวงหาทรัพยากร (Allocation) คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการช่วยเหลือ จัดหา หรือสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์หรือเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ร่วมกับโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

  3. การมีส่วนร่วมในการร่วมมือประสานงาน (Co-ordination) คือ การมีส่วนร่วมในการให้ความร่วมมือ ปฏิบัติงาน ติดต่อสื่อสาร รับผิดชอบร่วมกับโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

  4. การมีส่วนร่วมด้านการประเมินผล (Evaluation) คือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์รูปแบบ ตรวจสอบการทำงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ร่วมกับโรงเรียนของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชม ภูมิภาค,(2526). การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพมหานคร : สมาคม การศึกษาแห่งประเทศไทย.
ธงชัย สันติวงษ์.(2543). ทฤษฎีการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
นพพงษ์ บุณจิตราดุลย์, (2529). หลักการบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การ พิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2543). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต).(2544). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาคณะ สงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาทองมี สุทฺธิจิตฺโต (สะพานหล้า). (2554). “การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้า นครหลวง ตามหลักอิทธิบาท 4 : กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัด เลียบ กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ, คู่มือมนุษย์ (ฉบับสมบูรณ์),(2543). กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ธรรมสภา.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี.(2546). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : ห้าง หุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลไทยอนุเคราะห์ไทย.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สถาบันพระปกเกล้า.(2540). เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.
อคิน ระพีพัฒน์.(2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและ วัฒนธรรมไทย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cohen, John M., and Up Hoff Norman T.,(1980). “Participation’s Place in Rural Development: seeking Clarity though Specificity”.World Development. (New York : Mc Grew – Hill.
Herzberg,(1957). F., et. al., Job Attitude : Review of Research and Opinion.
J.M.Cohen,& N.T. Uphoff, Partipation s place in Rural Development Seeking
Clarity theough Specificity. World Development 8. (March 1980).
Jacop W.(1973). Getzels and Egon G. Guba. “Social Behavior and the AdministrativeProcess”, School Review, Vol. 65.