หลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดด้านหลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร โดยได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านการปรับปรุงการให้บริการของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าด้วยความทุ่มเทเสียสละเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ดังนี้
หลักสังคหวัตถุ 4 มีดังนี้ 1. ทาน คือการให้ได้แก่การเสียสละการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่การแบ่งปันช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดจนให้ความรู้แนะนำสั่งสอนการให้ทานให้เพื่อขจัดกิเลสลดความเห็นแก่ตัวด้วยการให้ทาน 2. ปิยวาจา ได้แก่ การพูดคำสุภาพ อ่อนหวาน เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคี ปิยวาจาทำได้ง่าย เพราะวาจานั้นมีในตัวเรา เพียงเรามีสติ มีเมตตาในใจ 3. อัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือกันและกันในวงแคบ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในวงกว้าง หลักธรรมข้อนี้มุ่งสอนให้คนพัฒนาตน 2 ด้าน คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์ และทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ 4. สมานัตตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึง การวางตนได้เหมาะสม ให้ความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เสมอในสุขและทุกข์ คือ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ปัญหา และร่วมแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของสังคม
Article Details
References
ธรรมรักษา.(2532). พระไตรปิฏกฉบับสุภาษิต. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์ .
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) . (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำ วัด. วัดราชโอรสาราม. กรุงเทพมหานคร
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร:
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต).(2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ .
พุทธทาสภิกขุ.(2549). บริหารธุรกิจแบบพุทธ กรุงเทพมหานคร : มปป. โรงพิมพ์มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาศน์ วาสโน).(2528). สังคหวัตถุ 4. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุจิตรา รณรื่น.(2538). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : ,ิษัทสหธรรมิก จากัด
สุทธิพงศ์ ปานเพ็ชร์.(2550) “การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับวิถีชีวิตชุมชน”. รายงานการ
วิจัยอิสระ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ .
เอนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. จิตวิทยาบริการ, มปป.