ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักพรหมวิหาร 4

Main Article Content

กุลชัย โพธิ์นันท์

บทคัดย่อ

              บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักพรหมวิหาร 4 โดยเห็นความสำคัญที่ทุกคนได้ตระหนักในการใช้ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามลักพรหมวิหาร 4 เพื่อมาประยุกต์เข้ากับการบริหารหน้าที่หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสมานสันติในสังคมทุกหมู่เหล่า ไม่แบ่งแยกฝักฝ่ายส่งเสริมให้กิจการที่ทำร่วมกันสำเร็จเจริญก้าวหน้าตามมุ่งหมาย โดยมีเนื้อหาศึกษา  ดังนี้


             ผู้นำคือบุคคลที่จะมาประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมกันโดยที่ว่าจะเป็นการอยู่รวมกันก็ตาม หรือทำการร่วมกันก็ตามให้พากันไปด้วยดี สู่จุดหมายที่ดีงาม คนทุกคนมีบทบาทเป็นผู้นำกันอยู่แล้ว เช่นเป็นผู้นำองค์กร ผู้นำสมาคม ผู้นำวัดและแม้กระทั้งหัวหน้าครอบครัว จะต้องประกอบด้วย 1) จักขุมา คือ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล 2) วิธุโร คือเป็นผู้ชำนาญในงาน 3) นิสสยสัมปันโน คือ เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี พระพุทธองค์ได้แสดงถึงลักษณะและคุณสมบัติของผู้นำหรือผู้บริหารไว้ว่า 1. วิยัตโต เป็นผู้มีปัญญา 2. วินีโต เป็นผู้มีระเบียบวินัยดี 3. วิสารโท เป็นผู้แกล้วกล้า 4. พหุสุโต เป็นผู้มีความรู้ ศึกษาทรงจำมาก 5. ธัมมานุธัมมปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติธรรม รักษาความถูกต้องในสิ่งที่ถูกที่ควร และหัวใจสำคัญคือพรหมวิหารคือ ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ปฏิบัติตนต่อมนุษย์ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยชอบ เป็นธรรมสำหรับผู้ใหญ่ที่ดูแลคนอื่น 1. เมตตา ได้แก่ ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุข ด้วยจิตอันแผ่ไมตรีคิดทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและสิ่งอื่น โดยการแสดงออก 3 ทาง ได้แก่ ก) เมตตาทางกาย ข) เมตตาทางวาจา ค) เมตตาทางใจ 2. กรุณา ได้แก่ ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ 3. มุทิตา ได้แก่ ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข 4. อุเบกขา ได้แก่ ความวางใจเป็นกลาง


          

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).( 2548). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิน ดาต้าโปรดักส์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2544). ผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : มติชน. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545).ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนา ประเทศ, กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
พระมหาภูเนตุ จันทร์จิต.(2541). “หน้าที่ของมารดาบิดาในพุทธจริยศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล .
พระราชวรมุนี (ประยุตต์ ปยุตฺโต).( 2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุธาการพิมพ์ .
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).( 2530). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ.
พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต).( 2548). ชุดพุทธศาสนาประยุกต์ สงฆ์ผู้นำสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
พันเอกปิ่น มุทุกันต์.(2514). แนวการสอนธรรมตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระวันรัต (เขมนารีมหาเถระ-เฮง, ป.9).( 2543). พรหมวิหาร. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
อมร รักษาสัตย์. “สองนักวิชาการฟันธงชี้รัฐบาลชวน 4”. เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 3 สิงหาคม 2537