การบริหารจัดการเชิงพุทธของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงพุทธของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยได้เล็งเห็นว่าการบริหารจัดการเชิงพุทธของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้นจากการได้พากันน้อมนำเอาหลักธรรมต่างๆ ไปใช้จริงในชีวิตประจำวันโดยมีหัวข้อหลักธรรมดังนี้
หลักธรรมทิฐธัมมิกัตถะ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขขั้นต้นในปัจจุบัน เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต คือ 1) อุฏฐานสัมปทา เป็นผู้ชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้านในงานนั้น 2) อารักขสัมปทา จัดการรักษาคุ้มครองทรัพย์ 3) กัลยาณมิตตตา เลือกคบคนดีเป็นมิตรหรือมิตรแท้ 4) สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ และหลักอิทธิบาท 4 ดังนี้ 1) ฉันทะ คือ ความพอใจรักในสิ่งที่เราทำและสิ่งที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม 2) วิริยะ คือต้องมีความพยายาม ขยัน หมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน 3) จิตตะคือ เอาใจมุ่งมั่นต่อสิ่งที่ทำ มีสติ ไม่เหม่อลอยฟุ้งซ่าน ต้องมีสมาธิและตั้งอกตั้งใจ 4) วิมังสา คือ การรู้จักพิจารณาหาเหตุผลใช้ปัญญาในการทำงานประกอบไปด้วยการวางแผนงาน รวมถึงหลักสัมมาอาชีวะ คือการแสวงหาปัจจัยมาบริโภคที่ชอบ คือการไม่โกงหรือไม่หลอกลวง รวมถึงไม่ทำอาชีพอีก 5 ประเภท ดังนี้ 1) สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ 2) สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์ 3) มังสวณิชชา หมายถึง ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหารเป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 4) มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนการค้าสารเสพติดทุกชนิด 5) วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสัตว์
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).( 2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).( 2543). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สัมภาษณ์ ประทวน แจ้งบ้าน. ประธานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์บ้านโคกมนตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์, 25 กันยายน 2553.
สุวัฒน์ คงแป้น.(2545). วิถีแห่งทำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต ตามแนวทางของพระสุบิน ปณีโต. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิชุมชนไท.