การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักภิกขุอปริหานิยธรรม 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
สังคมสงฆ์ ใช้พระวินัยพุทธบัญญัติปกครอง ด้านการบริหารคณะสงฆ์โดยรูปองค์กร เช่น มหาเถรสามาคมนั้นไม่มีบัญญัติในพระวินัย แต่ก็มิได้ขัดพระวินัย ด้านตุลาการ สถาบันตุลาการทางพุทธศาสนา มีลักษณะบางอย่างคล้ายกับสถาบันตุลาการทางราชอาณาจักร มีกฎหรือระเบียบที่สังคมวางไว้เป็นบรรทัดฐานแห่งการกระทำของบุคคลในสังคม ป้องกันไม่ให้มีการกระทำ หรือความประพฤติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบสุขของสังคม ซึ่งในการบริหารหมู่คณะถ้าได้ยึดเอาการบริหารตามหลักธรรมข้ออปริหานิยธรรม คือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม ย่อมทำให้เกิดความเป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี 7 อย่าง ดังนี้
1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ 3) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้วสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ 4) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน 5) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น 6) ยินดีในเสนาสนะป่า 7) ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
Article Details
References
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกร
ณราชวิทยาลัย.
ไชย ณ พล.(2537). การปกครองของพระพุทธเจ้าระบอบธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.
พระเทพดิลก (ระแบบ จิตญาโณ). (2544). ธรรมปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์). (2540). เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่องการปกครองคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). พุทธบริษัทกับพระธรรมวินัย. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ปัญญา.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534) การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทอาร์ เอส พริ้นติ้ง
แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย..
สง่า หล่อสำราญ.(2541) ตำนานพระพุทธสาวก. กรุงเทพมหานคร : อักษรสยามการพิมพ์. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.(2523). ราช
กิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สมบูรณ์ สุขสำราญ.(2527). พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงการเมืองและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2530). สถาบันทางการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์ รัฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะ
กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.