การส่งเสริมสุขภาวะในนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์
Keywords:
Online counseling, Psychology, WellnessAbstract
Wellness Enhancement in Undergraduates through Chat-Based Individual
Online Counseling
This study aimed to examine effectiveness of the chat-based individual online counseling on wellness of undergraduates. The quasi-experimental with pretest-posttest control group design was employed. Participants were 30 undergraduates (3 males and 27 females). They were randomly assigned to experimental group and control group (n = 15 per group). Those in experimental group participated in the chat-based individual online counseling sessions (60-90 minutes for one session per week) for 4 weeks while participants in control group lived their life normally. Instruments were Thai version of 5-Factor Wellness Inventory and the individual Existential-Humanistic online counseling protocol. Independent and Dependent sample t-test were used for data analysis. Findings revealed the posttest scores on wellness of the online counseling group were significantly higher than its pretest scores (p < .01) and significantly higher than the posttest scores of the control group (p < .01).
Keywords: wellness, online counseling, Existential-Humanistic approach
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์ต่อการส่งเสริมสุขภาวะในนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ออกแบบวิธีการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองโดยมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 30 คน (เป็นเพศชาย 3 คน เพศหญิง 27 คน) โดยกลุ่มตัวอย่างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลแบบออนไลน์ (แชท) จำนวน 4 ครั้ง (ครั้งละ 60-90 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และกลุ่มควบคุมที่ดำเนินชีวิตตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสุขภาวะแบบห้าองค์ประกอบ และแนวทางการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแนวอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยมแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่านิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนสุขภาวะในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า นิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนสุขภาวะสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: สุขภาวะ การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ แนวคิดอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยม