การจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวที่ทำให้ครอบครัวเข้มแข็งของครูสตรีมุสลิมสมรสในพื้นที่บริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • นัชชิมา (Nachima) บาเกาะ (Bakoh)
  • อังศินันท์ (Ungsinan) อินทรกำแหง (Intarakamhang)
  • พัชรี (Patcharee) ดวงจันทร์ (Duangchan)

Abstract

Self-Management and Family Coping Leading to the Strong Family of Muslim Married Women Teachers in Three Southern Border Provinces of Thailand

 

Abstract 

This study aimed 1) to find out the meaning and the components of self-management, family coping, and strong family as the perception of married Muslim women teachers and 2) to find out the conditions related to self-management and family coping of married Muslim women teachers that lead to the strong family. The qualitative research using multiple case study technique was employed in this study. The key informants were 7 married Muslim women teachers in the three southern border provinces of Thailand including Yala, Pattani, and Narathiwat. The study found that the meaning of self-management and family coping is the ability of Muslim women for managing and solving problems that occur to them and their family members, and the members of the family exercise their responsibilities. There are five components namely 1) family support. 2) self and family problem solving 3) positive thinking 4) peer support, and 5) use reason/logic to solve the problem. While the strong family illustrates the family that uses Islamic teaching as the way of life, family members interact with each other and everyone is responsible for strengthening the structure of the family. There are eight components namely 1) exercising the Islamic teaching in daily life 2) the ability to manage stress and crisis 3) expressing love and care openly and heartening family members 4) using time together 5) supporting and taking care of each other 6) participating in social activities 7) obeying her husband 8) positive communicating, and it was found two related conditions namely 1) individual condition, it is including responsibility, good time management, leadership, discipline, positive viewpoint, self-confident and 2) social condition, it is including live in Islamic environment, family support, role model in the family, and colleague support.   

Keywords: married Muslim women teacher, strong family, self-management, family coping

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายและองค์ประกอบของการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวและครอบครัวเข้มแข็งตามการรับรู้ของครูสตรีมุสลิมสมรส และศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรสที่นำไปสู่การเป็นครอบครัวเข้มแข็ง โดยดำเนินการศึกษาตามแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในรูปแบบกรณีศึกษา (Case Study) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูสตรีมุสลิมสมรส ที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา อาศัยอยู่ในพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ผลการศึกษาพบว่า การจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัว หมายถึง การที่ครูสตรีมุสลิมสมรสมีความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสมาชิกในครอบครัว และมีการปฏิบัติกิจกรรมในครอบครัวตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว 2) การแก้ปัญหาตนเองและครอบครัว 3) การมองในมุมบวก 4) การได้รับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง และ 5) การใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา สำหรับครอบครัวเข้มแข็ง หมายถึง ครอบครัวที่นำหลักการของศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัว โดยที่สมาชิกภายในครอบครัวของครูสตรีมุสลิมสมรส มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีการทำหน้าที่เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ในโครงสร้างต่าง ๆ ของครอบครัว มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่  1) การนำหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในชีวิต 2) ความสามารถในการจัดการความเครียดและวิกฤต 3) การแสดงความรักอย่างเปิดเผยและให้กำลังใจคนในครอบครัว 4) การใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว 5) การช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน 6) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 7) การเชื่อฟังสามี และ 8) การสื่อสารเชิงบวก และพบว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) เงื่อนไขจากตัวบุคคล ประกอบด้วย มีความรับผิดชอบ  มีการบริหารและจัดการเวลาที่ดี มีความเป็นผู้นำ มีวินัย มีการมองโลกในแง่ดี และมีความมั่นใจในตนเอง และ 2) เงื่อนไขทางสังคม ประกอบด้วย การอาศัยอยู่ในบรรยากาศอิสลาม การได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว การมีแบบอย่างที่ดีจากบุคคลในครอบครัว และการได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน

คำสำคัญ: ครูสตรีมุสลิมสมรส  ครอบครัวเข้มแข็ง  การจัดการตนเอง  การจัดการภายในครอบครัว


Downloads

Published

2017-08-30

How to Cite

บาเกาะ (Bakoh) น. (Nachima), อินทรกำแหง (Intarakamhang) อ. (Ungsinan), & ดวงจันทร์ (Duangchan) พ. (Patcharee). (2017). การจัดการตนเองและการจัดการภายในครอบครัวที่ทำให้ครอบครัวเข้มแข็งของครูสตรีมุสลิมสมรสในพื้นที่บริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Journal of Behavioral Science for Development, 9(2). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/92325