การเสริมสร้างความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน

Authors

  • ปรีชา ขยัน หน่วยพัฒนาคุณภาพนักศึกษา คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เสรี ใหม่จันทร์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความหวัง การให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน นักศึกษามหาวิทยาลัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีคะแนนความหวังตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 24 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก แล้วจึงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน เพื่อเข้ารับการให้การปรึกษากลุ่ม และกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน ซึ่งไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า

1. นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เข้ารับการปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความหวัง มีระดับความหวังหลังการรับการปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานสูงกว่าก่อนการรับการปรึกษากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เข้ารับการปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความหวัง มีระดับความหวังหลังการรับการปรึกษากลุ่มสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การเสริมสร้างความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน มีผลทำให้ระดับความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังได้รับการอภิปรายผลร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ อันเป็นการพิสูจน์ถึงผลของการใช้การให้การปรึกษากลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Downloads

Additional Files

Published

2017-08-30

How to Cite

ขยัน ป., & ใหม่จันทร์ เ. (2017). การเสริมสร้างความหวังของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยใช้การให้การปรึกษากลุ่มแบบผสมผสาน. Journal of Behavioral Science for Development, 9(2). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/88663