อิทธิพลพหุระดับของการสอนงานตามหลักการจัดการของหัวหน้างานและสถานการณ์ ทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง ของข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม The multi-level effects of supervisors’ managerial coaching and psycho-social situation
Keywords:
high performance behavior, psycho-social, managerial coaching, the government officers, MSEM, พฤติกรรมการปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง, สถานการณ์ทางจิตสังคม, การสอนงานตามหลัก, การจัดการของหัวหน้างาน, ข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมAbstract
The objective of this research was to examine the multilevel structural equation model of supervisors’ managerial coaching and psycho-social situations on individual and group-level high performance behavior. The sample was selected by proportional stratified random sampling of government officers in the Ministry of Justice; consisting of thirty hundred and thirty six individuals from eighty work-groups. The reliability of the questionaires was rated at 0.872 - 0.961. This research test multilevel confirmatory factor analysis (MCFA) was used to test the construct validity of multilevel variables, and multilevel structural equation modeling (MSEM). The results found that 1) the commitment of officers and learning and the development of their office had an effect on the high performance behavior of officers (B = 0.427 and 0.336, p < .05) respectively, 2) Role clarity had indirect effects on the high performance behavior of officers mediated by the commitment of the officer, 3) The managerial coaching of supervisory and role clarity of group had an effect on the high performance behavior of groups at B = 0.509 and 0.596, p < .05 respectively, and 4) The managerial coaching of supervisory, the role clarity of group and their satisfaction with working in groups had an effect on the satisfaction levels of officers in groups (B = 0.247, 0.252 and 0.574, p < .05) respectively. The climate of the work groups had an effect on the social support of colleagues in their groups (B = 0.981, p < .05).
Keywords: high performance behavior, psycho-social, managerial coaching, the government officers, MSEM
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบแบบจำลองโครงสร้างพหุระดับของการสอนงานตามหลักการจัดการของ หัวหน้างานและสถานการณ์ทางจิตสังคมระดับกลุ่มงานและระดับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากรของข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 336 คน จาก 80 กลุ่มงาน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นแอฟฟ่าอยู่ระหว่าง 0.872 ถึง 0.961 งานวิจัยนี้ทดสอบแบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับ (MSEM) ผลพบว่า 1) การปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูงของบุคคลได้รับอิทธิพลจากความผูกพันของบุคลากรและการเรียนรู้ และพัฒนาของบุคลากร ด้วยอิทธิพลเท่ากับ 0.427 และ 0.336 (p < .05) ตามลำดับ 2) ความชัดเจนในบทบาทมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูงของบุคลากร โดยผ่านทางความผูกพันของบุคลากร 3) การปฏิบัติงาน อย่างมีผลสัมฤทธิ์สูงของกลุ่มงานได้รับอิทธิพลจากการสอนงานตามหลักการจัดการของหัวหน้างาน และความชัดเจนในบทบาทของกลุ่มงาน (p < .05) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.509 และ 0.596 ตามลำดับ 4) ความพึงพอใจในงานของบุคลากรในกลุ่มงานได้รับอิทธิพลจากการสอนงานตามหลักการจัดการของ หัวหน้างาน ความชัดเจนในบทบาทของกลุ่มงาน และความพึงพอใจในงานของกลุ่มงาน (p < .05) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.247 0.252 และ 0.574 ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคมของเพื่อนร่วมงานในกลุ่มงานได้รับอิทธิพลจากบรรยากาศในการปฏิบัติงานในกลุ่มงาน (p < .05) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.981
คําสําคัญ: พฤติกรรมการปฏิบัติงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง สถานการณ์ทางจิตสังคม การสอนงานตามหลัก การจัดการของหัวหน้างาน, ข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม, MSEM