สถานการณ์ทางสังคมและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การพิทักษ์สิทธิ์ตนเองของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ Psychosocial Situatiions and the Psychological Relationship between Self-Advocacy Behavior among Mobile Consumers

Authors

  • ศุวิกา (Suwika) ชุมพงศ์ (Chumpong)
  • ศรัณย์ (Saran) พิมพ์ทอง (Pimtong)

Keywords:

Self-Advocacy Behavior, Psychosocial, Mobile Consumers, พฤติกรรมพิทักษ์สิทธิ์ตนเอง, การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ, ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

Abstract

This research aimed to study the interaction between the psychological and social variables involved in self-advocacy behavior among mobile consumer, which has various biosocial aspects, as well as the power of the prediction using psychological and social variables that work together to predict self-advocacy behavior with ethical standards as a whole, the individual aspects and the important variables used to predict self-advocacy with the ethical standards of the mobile consumers as a whole and on an individual level, as well as parts with biosocial aspects. The samples in this study consisted of four hundred mobile consumers ,selected by stratified sampling and classified by statistics related to people who had made complaints at the Telecommunications Consumer Protection Bureau From the first of January to the Thirsty-First of December 2015.The data collection used a six level rating scale and the reliability of alpha coefficients was .61 - .93. The date were analyzed by Enter and Stepwise Multiple Regression Analysis. The results from the Enter Multiple regression analysis found that overalls, each of the six independent factors predicted self-advocacy behavior at 77.1 %. The results from Stepwise Multiple regression analysis found that the important variable to predict working behavior with ethical standards at was at the statistically significant level of .05, specificaily positive attitudes towards the type - A personality , self-awareness , family support and perception of mobile media practice , respectively

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของกลุ่มตัวแปรสถาณการณ์ทางสังคมและกลุ่มตัวแปรลักษณะทางจิตที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิ์ตนเองของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และตัวแปรที่มีบทบาทสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิ์ตนเองของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่มีลักษณะทางชีวสังคมที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ใช้บริการในกิจการโทรคมนาคมผ่านสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักรับเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงาน กสทช. ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2558 จำนวน  400 คน ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า 6 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง .61 - .93  จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ทั้งนี้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบรวม พบว่า ตัวแปรทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิ์ตนเองของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ร้อยละ 77.1 และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น พบว่า ตัวแปรสำคัญที่ทำนายพฤติกรรมการพิทักษ์สิทธิ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมพิทักษ์สิทธิ์ รองลงมาคือ บุคลิกภาพแบบ A การตระหนักรู้ในตนเอง การได้รับการสนับสนุนทางครอบครัว และการรับรู้ข่าวสารเรื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสื่อ ตามลำดับ

         คำสำคัญ: พฤติกรรมพิทักษ์สิทธิ์ตนเอง การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

Downloads

Published

2017-01-30

How to Cite

ชุมพงศ์ (Chumpong) ศ. (Suwika), & พิมพ์ทอง (Pimtong) ศ. (Saran). (2017). สถานการณ์ทางสังคมและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การพิทักษ์สิทธิ์ตนเองของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ Psychosocial Situatiions and the Psychological Relationship between Self-Advocacy Behavior among Mobile Consumers. Journal of Behavioral Science for Development, 9(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/76037